Arts in Southeast Asia

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศิลปกรรมยอดนิยม

Most Popular

ศิลปกรรมล่าสุด

Latest

682

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

มาเลเซีย

สมัย/รูปแบบศิลปะ
อาณานิคมดัตช์
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 22-23
ประเภทงานศิลปะ
สถาปัตยกรรม
หน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องนรสิงห์
อังกอร์
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องนรสิงห์

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องเป็นรูปนรสิงห์แหวกอกอสูร

หน้าบัน สลักภาพอุมามเหศวร
อังกอร์
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพอุมามเหศวร

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องเป็นรูปอุมามเหศวร

หน้าบัน สลักภาพคชลักษมี
อังกอร์
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพคชลักษมี

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องเป็นรูปคชลักษมี

ทวารบาล
อังกอร์
ประติมากรรมทวารบาล

ทวารบาล สลักจากหินทราย ทำผมทรงชฎามงกุฎ ซึ่งเป็นชฎามงกุฎทรงกระบอก ตามแบบศิลปะสมัยเมืองพระนคร เปลือยกายท่อนบน ไม่สวมเสื้อ และเครื่องประดับ นุ่งผ้านุ่งเรียบ ที่ด้านข้างมีถุงชายพกเป็นรูปวงโค้งตกลงมา ปลายชายพกยัดกลับขึ้นไปตรงกลางผ้านุ่งแล้วปล่อยชายผ้าออกมา ทวารบาลอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว เป็นซุ้มคดโค้งตามแบบศิลปะบันทายศรี

ทับหลัง สลักภาพเล่าเรื่องพระกฤษณะปราบพระยากงส์ 
อังกอร์
ประติมากรรมทับหลัง สลักภาพเล่าเรื่องพระกฤษณะปราบพระยากงส์ 

ทับหลังในสมัยบันทายศรีจะมีลักษณะรับอิทธิพลมาจากศิลปะเกาะแกร์ มาผสมผสานกับศิลปะพระโค กล่าวคือการทำภาพเล่าเรืองอยู่กึ่งกลางทับหลังกดทับท่อนพวงมาลัยให้โค้งลงมาอยู่ด้านล่างของทับหลัง ท่อนพวงมาลัยมีการทำลายใบไม้ตั้งขึ้น และใบไม้ห้อยลงตามอีกทั้งยังปรากฏการทำพวงอุบะแทรกอยู่ในส่วนของใบไม้ห้อยลงตามแบบศิลปะพระโค ลักษณะเด่นของทับหลังในสมัยนี้ก็คือการประดับบริเวณเสี้ยว (เศษ 1 ส่วน 4) ของท่อนพวงมาลัยด้วยรูป “ใบหน้าสัตว์ขบท่อนพวงมาลัย” ซึ่งต่อไปจะเป็นต้นแบบของเสี้ยวพวงอุบะในศิลปะบาปวน ตรงกลางของทับหลัง ปรากฏภาพเล่าเรื่องพระกฤษณะปราบพระยากงส์ 

หน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องตอนกฤษณะปราบพระยากงส์
อังกอร์
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องตอนกฤษณะปราบพระยากงส์

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องเป็นรูปพระกฤษณะปราบพระยากงส์

หน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องตอนกามเทพแผลงศร
อังกอร์
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องตอนกามเทพแผลงศร

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องเป็นรูปกามเทพแผลงศรใส่พระศิวะ

หน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องมหาภารตะ
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องมหาภารตะ

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องมหาภารตะ