ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หน้าบัน สลักภาพคชลักษมี
คำสำคัญ :
ชื่อหลัก | ปราสาทบันทายศรี |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
จังหวัด/เมือง | อังกอร์ |
รัฐ/แขวง | เสียมเรียบ |
ประเทศ | กัมพูชา |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.598889 Long : 103.962778 |
ประวัติการสร้าง | ปราสาทบันทายศรีสร้างขึ้นโดยพราหมณ์ชื่อ ยัชญวราหะ ในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแก่พระศิวะและพระเทวีอีกสององค์ |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องเป็นรูปคชลักษมี |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | บันทายสรี |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 16 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | คชลักษมีเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ เป็นรูปพระลักษมีนั่งประทับตรงกลาง ด้านช้างทั้งสองด้านมีช้างถือหมอน้ำสรงลงบนพระเศียร ประติมากรรมดังกล่าวมักปรากฏอยู่บนทางเข้าของศาสนสถานเสมอ |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | ปรากฏรูประติมากรรมสตรีประทับนั่ง เหนือพระเศียรปรากฏช้างสองเชือกชูงวงรดน้ำ รูปแบดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ของพระคชลักษมี |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |