ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทับหลัง สลักภาพเล่าเรื่องพระกฤษณะปราบพระยากงส์
คำสำคัญ : พระวิษณุ, ทับหลัง, ฮินดู, บันทายสรี, ชัยวรมันที่ 5, ยัชวราหะ, พระกฤษณะ
ชื่อหลัก | ปราสาทบันทายศรี |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
จังหวัด/เมือง | อังกอร์ |
รัฐ/แขวง | เสียมเรียบ |
ประเทศ | กัมพูชา |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.598889 Long : 103.962778 |
ประวัติการสร้าง | ปราสาทบันทายศรีสร้างขึ้นโดยพราหมณ์ชื่อ ยัชญวราหะ ในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแก่พระศิวะและพระเทวีอีกสององค์ ทับหลัง เป็นชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมที่พบในศิลปะเขมร โดยจะติดตั้งอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเสมอ |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | ทับหลังในสมัยบันทายศรีจะมีลักษณะรับอิทธิพลมาจากศิลปะเกาะแกร์ มาผสมผสานกับศิลปะพระโค กล่าวคือการทำภาพเล่าเรืองอยู่กึ่งกลางทับหลังกดทับท่อนพวงมาลัยให้โค้งลงมาอยู่ด้านล่างของทับหลัง ท่อนพวงมาลัยมีการทำลายใบไม้ตั้งขึ้น และใบไม้ห้อยลงตามอีกทั้งยังปรากฏการทำพวงอุบะแทรกอยู่ในส่วนของใบไม้ห้อยลงตามแบบศิลปะพระโค ลักษณะเด่นของทับหลังในสมัยนี้ก็คือการประดับบริเวณเสี้ยว (เศษ 1 ส่วน 4) ของท่อนพวงมาลัยด้วยรูป “ใบหน้าสัตว์ขบท่อนพวงมาลัย” ซึ่งต่อไปจะเป็นต้นแบบของเสี้ยวพวงอุบะในศิลปะบาปวน ตรงกลางของทับหลัง ปรากฏภาพเล่าเรื่องพระกฤษณะปราบพระยากงส์ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | บันทายสรี |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 16 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พระกฤษณะ เป็นอวตารที่ 8 ในทศวตารของพระวิษณุ โดยพระวิษณุได้อวตารลงมาเป็นพระกฤษณะเพื่อปราบอสูรต่างๆ เช่นในทับหลัง เป็นตอนพระกฤษณะปราบพระยงกงส์ซึ่งเป็นพระปิตุลาของพระกฤษณะได้แย่งราชบัลลังก์ที่เมืองมถุราไป พร้อมกับตามกำจัดพระกฤษณะและพระพลรามมาโดยตลอด แต่เมื่อพระกฤษณะและพระพลรามเติบใหญ่จึงได้เดินทางมาเมืองมถุราเพื่อแย่งราชบัลลังก์กลับคืนมา จนในท้ายที่สุดพระกฤษณะได้เข้าไปปราบพระยากงส์ด้วยใช้กำปั้นทุบจนตาย |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | ประติมากรรมภาพเล่าเรื่อง ปรากฏภาพบุคคลสองคน โดยบุคคลที่ยืนฉีกร่างของอีกบุคคลน่าจะหมายถึง พระกฤษณะฉีกร่างของพระยากงส์ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |