ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมหลวงพ่อศรีเมือง
พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ขมวดพระเกศาเล็ก รัศมีเป็นเปลวไฟ พระพักตร์ค่อนข้างใหญ่ พระเนตรใหญ่หรี่ลงต่ำ พระนาสิกใหญ่มากส่วนยอดพระนาสิกตัด พระโอษฐ์กว้างยิ้มแบบล้านช้าง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภีปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบพระหัตถ์ค่อนข้างใหญ่เทอะทะ นิ้วพระหัตถ์ค่อนข้างใหญ่ยาวเท่ากัน ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงายที่ปลายกลีบบัวงอนขึ้น มีการทำฐานสิงห์ฉลุลายและมีจารึกอยู่บริเวณฐานแปดเหลี่ยมด้านล่าง
ประติมากรรมพระใส
พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัยบนฐานกลีบบัวหงาย เม็ดพระศกขนาดเล็ก รัศมีเป็นเปลวไฟขนาดใหญ่มาก พระพักตร์กลมป้อม พระหนุเสี้ยม มีขอบไรพระศก พระขนงเป็นเส้นนูนขึ้น พระเนตรมองตรง พระโอษฐ์ยิ้มแบบล้านช้าง ขอบพระโอษฐ์หนา สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ยาวถึงพระนาภีปลายตัดตรง นิ้วพระหัตถ์ใหญ่และยาวเท่ากัน
ประติมากรรมพระใส
พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ขมวดพระเกศาเล็ก รัศมีเป็นเปลวไฟ พระพักตร์ค่อนข้างใหญ่ พระเนตรใหญ่หรี่ลงต่ำ พระนาสิกใหญ่มากส่วนยอดพระนาสิกตัด พระโอษฐ์กว้างยิ้มแบบล้านช้าง พระหัตถ์ค่อนข้างใหญ่เทอะทะ นิ้วพระหัตถ์ค่อนข้างใหญ่ยาวเท่ากัน
ประติมากรรมพระเสริม
พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ขมวดพระเกศาเล็ก รัศมีเป็นเปลวไฟ พระพักตร์รูปไข่และเล็ก พระนลาฏแคบ พระขนงโก่ง พระนาสิกเล็กและโด่ง พระวรกายบอบบาง สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ยาวถึงพระนาภีปลายคล้ายเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์เล็กเรียวยาวเสมอกัน
ประติมากรรมพระพุทธรูปปางมารวิชัย
พระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย รองรับด้วยฐานกลีบบัวหงายและชุดฐานบัวยกเก็จ รูปแบบโดยรวมสะท้อนแรงบันดาลใจจากพระพุทธรูปล้านนาแบบสิงห์หนึ่ง ลักษณะเด่นได้แก่ พระพักตร์กลม พระรัศมีรูปดอกบัวตูม พระวรกายอวบอ้วน ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิขนาดเล็กพาดผ่านพระอังสาซ้าย ปลายอยู่เหนือพระถันหยักโค้งไปมา เรียกกันว่าแบบเขี้ยวตะขาบ
ประติมากรรมพระพุทธรูปปางมารวิชัย
พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย รองรับด้วยฐานสูงที่ประดับตกแต่งด้วยกลีบบัวหงายและเหตุการณ์ตอนตรัสรู้หรือชนะมารลักษณะเด่นของพระพุทธรูปคือ มีวงพระพักตร์ค่อนข้างเป็นวงรูปไข่ พระรัศมีเปลว โดยรวมสะท้อนการคลี่คลายจากศิลปะสุโขทัยอันเป็นรูปแบบหนึ่งของพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาตอนกลาง ครองจีวรห่มเฉียง บางแนบเนื้อ ชายสังฆาฏิหรือชายจีวรพาดผ่านพระอังสาซ้ายยาวจรดพระนาภี ฐานรองรับพระพุทธรูปเป็นฐานสูงที่ประดับตกแต่งด้วยเหตุการณ์ตอนตรัสรู้ แถวล่างสุดเป็นกองทัพของพญามารที่เข้ามาผจญพระพุทธองค์ โดยตัวพญามารขี่ช้างอยู่ทางขวาของพระพุทธรูป ตรงกลางในตำแหน่งที่เหนือกว่าไพร่พลมารขึ้นมาเป็นรูปแม่พระธรณีกำลังบีบมวยผม ด้านซ้ายของพระพุทธรูปเป็นพญามารบนหลังช้างกำลังพ่ายแพ้
ประติมากรรมพระพุทธรูปปางมารวิชัย
พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัยบนฐานบัวที่ไม่มีการประดับตกแต่งใดๆ รูปแบบในภาพรวมสะท้อนถึงการสืบต่อจากพระพุทธรูปรุ่นก่อนกรุงศรีอยุธยา-อยุธยาตอนต้น หรือพระพุทธรูปอู่ทองรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ในขณะเดียวกันก็มีความสัมพันธ์กับพระพุทธรูปหมวดใหญ่ในศิลปะสุโขทัยด้วย รูปแบบสำคัญของพระพุทธรูปองค์นี้ที่สืบต่อจากพระพุทธรูปอู่ทองรุ่นที่ 1 และ 2 ได้แก่ นั่งขัดสมาธิราบพระหัตถ์ทำปางมารวิชัยอยู่บนฐานบัวเกลี้ยงๆ เม็ดพระศกเทียบได้ดังหนามขนุน ส่วนความสัมพันธ์กับพระพุทธรูปสุโขทัยเห็นได้จากพระรัศมีรูปเปลวไฟ พระพักตร์วงรูปไข่ พระขนงโก่งโค้ง แม้มีไรพระศกเช่นพระพุทธรูปอู่ทอง แต่การหยักแหลมที่กึ่งกลางพระนลาฏล้อตามความโก่งโค้งของพระขนงและบริเวณพระกรรเจียก (ขมับ) ไม่หยักแหลม ย่อมสัมพันธ์กับแนวพระเกศาในพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ พระพุทธรูปองค์นี้ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิหรือชายจีวรเป็นแถบสี่เหลี่ยมพาดผ่านพระอังสาซ้ายยาวจรดพระนาภี ปลายตัดตรง พระหัตถ์ขวาวางอยู่บริเวณพระชงฆ์มีความอ่อนช้อยกว่าพระพุธรูปอู่ทองรุ่นที่ 1 และ 2 ซึ่งน่าจะเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สัมพันธ์กับพระพุทธรูปสุโขทัย
ประติมากรรมพระพุทธรูปปางมารวิชัย
พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัยบนฐานบัวที่ไม่มีการประดับตกแต่งใดๆ รูปแบบในภาพรวมสะท้อนถึงการสืบต่อจากพระพุทธรูปรุ่นก่อนกรุงศรีอยุธยา-อยุธยาตอนต้น หรือพระพุทธรูปอู่ทองรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ในขณะเดียวกันก็มีความสัมพันธ์กับพระพุทธรูปหมวดใหญ่ในศิลปะสุโขทัยด้วยรูปแบบสำคัญของพระพุทธรูปองค์นี้ที่สืบต่อจากพระพุทธรูปอู่ทองรุ่นที่ 1 และ 2 ได้แก่ นั่งขัดสมาธิราบพระหัตถ์ทำปางมารวิชัยอยู่บนฐานบัวเกลี้ยงๆ เม็ดพระศกเทียบได้ดังหนามขนุน ส่วนความสัมพันธ์กับพระพุทธรูปสุโขทัยเห็นได้จากพระรัศมีรูปเปลวไฟ พระพักตร์วงรูปไข่ พระขนงโก่งโค้ง แม้มีไรพระศกเช่นพระพุทธรูปอู่ทอง แต่การหยักแหลมที่กึ่งกลางพระนลาฏล้อตามความโก่งโค้งของพระขนงและบริเวณพระกรรเจียก (ขมับ) ไม่หยักแหลม ย่อมสัมพันธ์กับแนวพระเกศาในพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ พระพุทธรูปองค์นี้ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิหรือชายจีวรเป็นแถบสี่เหลี่ยมพาดผ่านพระอังสาซ้ายยาวจรดพระนาภี ปลายตัดตรง พระหัตถ์ขวาวางอยู่บริเวณพระชงฆ์มีความอ่อนช้อยกว่าพระพุธรูปอู่ทองรุ่นที่ 1 และ 2 ซึ่งน่าจะเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สัมพันธ์กับพระพุทธรูปสุโขทัย