ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, พระพุทธรูปปางมารวิชัย, พระพุทธรูปหมวดขนมต้ม
ชื่อเรียกอื่น | พระพุทธรูปหมวดขนมต้ม |
---|---|
ชื่อหลัก | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | พระบรมมหาราชวัง |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.7576 Long : 100.492222 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661329.97 N : 1521418.09 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ภายในห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
ประวัติการสร้าง | ไม่ปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษรระบุถึงประวัติการสร้าง แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมที่เป็นพระพุทธรูปหมวดขนมต้มซึ่งพบว่าแพร่หลายในกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ราวสมัยอยุธยาตอนกลางกระทั่งอยุธยาตอนปลาย จึงกำหนดอายุโดยกว้างไว้ราวพุทธศตวรรษที่ 21-23 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | หล่อสำริด |
ขนาด | สูง 90 เซนติเมตร กว้าง 46 เซนติเมตร |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย รองรับด้วยฐานกลีบบัวหงายและชุดฐานบัวยกเก็จ รูปแบบโดยรวมสะท้อนแรงบันดาลใจจากพระพุทธรูปล้านนาแบบสิงห์หนึ่ง ลักษณะเด่นได้แก่ พระพักตร์กลม พระรัศมีรูปดอกบัวตูม พระวรกายอวบอ้วน ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิขนาดเล็กพาดผ่านพระอังสาซ้าย ปลายอยู่เหนือพระถันหยักโค้งไปมา เรียกกันว่าแบบเขี้ยวตะขาบ |
สกุลช่าง | หมวดขนมต้ม |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | เป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปหมวดขนมต้ม หรือพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรศิลปะอยุธยาที่งดงามและสมบูรณ์ที่สุดตัวอย่างหนึ่ง พระพุทธรูปแบบนี้อาจเกี่ยวข้องกับการจำลองพระพุทธสิหิงค์ของล้านนาก็เป็นได้ หากข้อสันนิษฐานนี้มีความเป็นไปได้ย่อมสะท้อนการติดต่อสัมพันธ์ทางศาสนาและวัฒนธรรมระหว่างกรุงศรีอยุธยากับล้านนา |
ข้อสังเกตอื่นๆ | คำว่าขนมต้มเป็นชื่อที่ใช้เรียกรูปร่างคนที่มีลักษณะสันทัด พระพุทธรูปแบบนี้หลายองค์ก็มีลักษณะสันทัดและอวบอ้วนจึงเรียกว่าหมวดขนมต้ม ทั้งนี้บางท่านเรียกว่าแบบนครศรีธรรราช เพราะพบแพร่หลายในภาคใต้เช่นกัน เช่น พระพุทธสิหิงค์ของนครศรีธรรมราช รูปแบบของพระพุทธรูปหมวดขนมต้มทำให้นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่าสัมพันธ์กับพระพุทธรูปล้านนาแบบสิงห์หนึ่ง และยังตั้งข้อสังเกตว่าบางองค์อาจเป็นรูปจำลองของพระพุทธสิหิงค์ของล้านนาก็ได้ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | อยุธยา |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 21-23 |
ศาสนา | พุทธ |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนา |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. พระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรหรือหมวดขนมต้มที่พบภายในพระอุระพระมงคลบพิตร 2. พระพุทธสิหิงค์วัดโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร 3. พระพุทธรูปแบบล้านนารุ่นแรก หรือเชียงแสนสิงห์หนึ่ง |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-09-30 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะอยุธยา: งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2550. |