ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
คำสำคัญ : พระพุทธรูปปางมารวิชัย, พระพุทธรูปมีจารึก, วัดโพธิ์, วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ชื่อเรียกอื่น | พระพุทธรูปมีจารึก “ทิตไส” |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม |
ชื่ออื่น | วัดโพธิ์ |
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | พระบรมมหาราชวัง |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.746522 Long : 100.493299 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661454.02 N : 1520193.27 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ภายในพระระเบียงคดด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระอุโบสถ |
ประวัติการสร้าง | พระพุทธรูปองค์นี้พบจารึกที่ฐานระบุชื่อผู้สร้างและศักราชที่สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “ทิตไสมีลูกหญิงชื่อนางทองแก้ว ผู้สร้าง พ.ศ. 1965” |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | หล่อสำริด |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธรูปองค์นี้แสดงปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานหน้ากระดานเกลี้ยง พระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาปานกลาง พระรัศมีเป็นเปลวไม่สูงมาก พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำหรี่เรียวยาวปลายตวัดขึ้น พระนาสิกโด่งงุ้ม พระโอษฐ์หยักโค้งเป็นคลื่น พระวรกายสมส่วน สังฆาฏิยาวจรดพระนาภีปลายแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ยาวไม่เท่ากันและพระดัชนีกระดกขึ้นเล็กน้อย พระพุทธรูปองค์นี้มีจารึกอักษรไทยสมัยรัตนโกสินทร์กำกับว่า “สังคโลก” เขียนขึ้นสมัยรัชกาลที่ 1 แสดงว่าพระพุทธ์รูปองค์นี้ถูกอัญเชิญลงมาจากสวรรคโลกหรือศรีสัชนาลัยในคราวที่มีการอัญเชิญพระพุทธรูปมาจากสุโขทัย |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ตัวอย่างพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยที่มีจารึกระบุศักราชและชื่อผู้สร้างชัดเจน |
ข้อสังเกตอื่นๆ | พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะเดียวกันกับพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยกลุ่มที่พบจารึกหลายองค์ เช่นองค์ที่อยู่ในพระระเบียงคดวัดเดียวกันระบุจารึก “ผ้าขาวทอง” หรือพระพุทธรูปในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครระบุจารึก “ทิตไสหง” แสดงว่าน่าจะหล่อขึ้นในเวลาเดียวกัน |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | สุโขทัย |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 20 |
ศาสนา | พุทธ |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนา |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. พระพุทธรูปสุโขทัยมีจารึก “ผ้าขาวทอง” วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระพุทธรูปมีจารึกที่มีลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูปมีจารึก “ทิตไส” ทุกประการ แสดงว่าน่าจะสร้างขึ้นพร้อมกัน โดยกลุ่มช่างเดียวกันรวมถึงผู้สร้างน่าจะเป็นญาติกัน 2. พระพุทธรูปสุโขทัยมีจารึก “ทิตไสหง” พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แม้พระพุทธรูปองค์นี้จะไม่ระบุศักราชการสร้าง แต่มีรูปแบบเช่นเดียวกันกับพระพุทธรูปองค์นี้ และข้อความในจารึกก็เป็นเช่นเดียวกัน อีกทั้งชื่อที่ปรากฏในจารึกคือ “ทิตไส” และ “ทิตไสหง” อาจเป็นบุคคลเดียวกันก็ได้ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-04-25 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล |
บรรณานุกรม | ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. ศานติ ภักดีคำ, รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, พอพล สุกใส. พระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2555. พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. “เมื่อลูกศิษย์คิดเลียนแบบครู” ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 12, ฉบับที่ 2 (ธันวาคม 2533), 50 – 55. ศิลปากร, กรม. จารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2527. |