ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
คำสำคัญ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ชื่อหลัก | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | พระบรมมหาราชวัง |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.7576 Long : 100.492222 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661329.97 N : 1521418.09 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ภายในห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
ประวัติการสร้าง | ไม่มีหลักฐานลายลักอักษรระบุรายละเอียดการสร้าง แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมเชื่อได้ว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21 หรือสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | หล่อสำริด |
ประวัติการอนุรักษ์ | ประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามมาแต่เดิม |
ขนาด | หน้าตักว้าง 27 เซนติเมตร สูง 54.5 เซนติเมตร |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย รองรับด้วยฐานสูงที่ประดับตกแต่งด้วยกลีบบัวหงายและเหตุการณ์ตอนตรัสรู้หรือชนะมาร ลักษณะเด่นของพระพุทธรูปคือ มีวงพระพักตร์ค่อนข้างเป็นวงรูปไข่ พระรัศมีเปลว โดยรวมสะท้อนการคลี่คลายจากศิลปะสุโขทัยอันเป็นรูปแบบหนึ่งของพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาตอนกลาง ครองจีวรห่มเฉียง บางแนบเนื้อ ชายสังฆาฏิหรือชายจีวรพาดผ่านพระอังสาซ้ายยาวจรดพระนาภี ฐานรองรับพระพุทธรูปเป็นฐานสูงที่ประดับตกแต่งด้วยเหตุการณ์ตอนตรัสรู้ แถวล่างสุดเป็นกองทัพของพญามารที่เข้ามาผจญพระพุทธองค์ โดยตัวพญามารขี่ช้างอยู่ทางขวาของพระพุทธรูป ตรงกลางในตำแหน่งที่เหนือกว่าไพร่พลมารขึ้นมาเป็นรูปแม่พระธรณีกำลังบีบมวยผม ด้านซ้ายของพระพุทธรูปเป็นพญามารบนหลังช้างกำลังพ่ายแพ้ |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ประติมากรรมนี้เป็นตัวอย่างสำคัญของพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาตอนกลาง ประดับส่วนฐานด้วยภาพแม่พระธรณีบีบมวยผมและกองทัพพญามาร ซึ่งเป็นงานที่หาได้ยาก |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | อยุธยาตอนกลาง |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 21 |
ศาสนา | พุทธ |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนา |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-09-30 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะอยุธยา: งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2550. |