ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

คำสำคัญ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลพระบรมมหาราชวัง
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.7576
Long : 100.492222
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 661329.97
N : 1521418.09
ตำแหน่งงานศิลปะภายในห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประวัติการสร้าง

ไม่มีหลักฐานลายลักษณ์อักษรรุบะระวัติการสร้าง แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมที่ยังแสดงความเกี่ยวข้องกับพระพุทธรูปศิลปะเขมรในประเทศไทย แต่ขณะเดียวกันก็มีหลายอย่างที่แตกต่างออกไป จึงเชื่อว่าสร้างขึ้นก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีไม่นานนัก หรืออาจสร้างระยะแรกสุดของสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ 19-ต้นพุทธศตวรรษที่ 20

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อสำริด

ประวัติการอนุรักษ์

ค้นพบจากอำเภอสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาท

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย

สุนทรียภาพที่แสดงถึงอายุสมัยว่าสร้างขึ้นก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีหรือระยะแรกสุด ได้แก่ ความสัมพันธ์กับศิลปะเขมรในประเทศไทย ได้แก่ พระพักตร์เหลี่ยม ไรพระศกเป็นแถบเหนือพระนลาฏ หยักเป็นมุมแหลมบริเวณพระกรรเจียก (ขมับ) อย่างไรก็ตามพระพุทธรูปองค์นี้ทำพระอุษณีษะทรงครึ่งวงกลมและพระรัศมีรูปลูกแก้วหรือดอกบัวตูม ซึ่งแตกต่างไปจากพระพุทธรูปศิลปะเขมรในประเทศไทยทั่วไป ลักษณะนี้แสดงถึงการคลี่คลายหรือห่างไกลออกมาจากศิลปะเขมรในประเทศไทยแล้ว ซึ่งอาจช่วยกำหนดอายุพระพุทธรูปองค์นี้ว่าสร้างขึ้นก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเล็กน้อย หรือสร้างขึ้นระยะแรกสุดของสมัยอยุธยาตอนต้น

พระพุทธรูปองค์นี้ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิหรือชายจีวรเป็นแถบสี่เหลี่ยมใหญ่พาดผ่านพระอังสาซ้ายยาวจรดพระนาภี
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระพุทธรูปองค์นี้เป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือสมัยอยุธยาตอนต้นที่สมบูรณ์และงดงาม สะท้อนถึงการคลี่คลายห่างไกลจากพระพุทธรูปศิลปะเขมรในประเทศไทยแล้วระดับหนึ่ง

ข้อสังเกตอื่นๆ

พระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะเช่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการทำพระพักตร์เหลี่ยม พระรัศมีรูปลูกแก้วหรือดอกบัวตูมไม่ใช่พระรัศมีเปลวเพลิง ทำให้บางท่านกำหนดให้พระพุทธรูปแบบนี้เป็นศิลปะอู่ทองรุ่นที่ 1

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะก่อนอยุธยา
อายุพุทธศตวรรษที่ 19
ศาสนาพุทธ
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนา

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-30
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.

สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะอยุธยา: งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2550.