ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 233 ถึง 240 จาก 872 รายการ, 109 หน้า
พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ
ประจวบคีรีขันธ์
สถาปัตยกรรมพระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ

พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศตั้งอยู่บนเนินเขาธงชัย ริมหาดบ้านกรูด มีรูปแบบเป็นอาคารสูง 5 ชั้น ประดับชั้นบนสุดด้วยเจดีย์ทรงระฆังจำนวน 9 องค์ตัวอาคารประกอบด้วยชั้นต่างๆ 5 ชั้นดังนี้ชั้นที่ 1 ใช้เป็นที่เก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ โดยมีร่องระบายน้ำฝนจากด้านบนลงสู่ชั้นที่ 1 ได้หลายช่องทางชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงอเนกประสงค์ เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางธรรมในวันสำคัญต่างๆ ทางศาสนาชั้นที่ 3 เป็นวิหารที่มีความกว้างขวางสำหรับประกอบพิธีกรรมสำคัญอย่างการรับผ้ากฐิน ผ้าป่า และฟังธรรมเทศนา มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือนประเพณีวัฒนธรรมในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทยชั้นที่ 4 เป็นอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปประธานซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประธานอภัย อันเป็นรูปแบบเดียวกับพระพุทธรูปประจำพระชนมวารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เบื้องหลังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชั้นนี้มีระเบียงด้านนอกที่มองเห็นทิวทัศน์ทะเลบริเวณหาดบ้านกรูดผนังประดับกระจกสีเรื่องพระมหาชนกชาดก ชั้นที่ 5 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุภายในบุษบกซึ่งจะเปิดให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะเฉพาะเทศกาลวันวิสาขบูชา

พระพุทธมหาชนก
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพุทธมหาชนก

พระพุทธรูปประทับนั่งบนฐานชุกชี แสดงปางมารวิชัย ทรงครองจีวรลายดอกห่มเฉียง ประดับด้วยเครื่องทรงอื่นๆจำนวนมาก ได้แก่ มงกุฎยอดชัยหรือยอดแหลมซึ่งมีรูปแบบคล้ายเป็นการจำลองพระมหาพิชัยมงกุฎ โดยประกอบด้วยรัดเกล้า 3 ชั้นประดับดอกไม้ไหว และมีกรรเจียกจร ทรงสวมกรองศอ ทับทรวง พาหุรัด ธำมรงค์ ทองพระกร ทองพระบาท พระพักตร์สงบนิ่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระขนงโค้ง พระโอษฐ์แย้มเล็กน้อยซึ่งเป็นรูปแบบพระพักตร์ของพระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์

บุษบกธรรมาสน์ยอดทรงมงกุฎ
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมบุษบกธรรมาสน์ยอดทรงมงกุฎ

บุษบกธรรมาสน์ยอดทรงมงกุฎประกอบด้วยส่วนฐาน ส่วนกลาง และส่วนยอด ส่วนฐานเป็นฐานสิงห์เพิ่มมุมซ้อนชั้นโดยมีท้องไม้ยืดสูง ด้านหน้ามีชั้นลดสำหรับพระสงฆ์ขึ้นสู่ธรรมาสน์ ส่วนกลางมีลักษณะโปร่ง ประกอบด้วยเสาย่อมุมไม้สิบสองที่ 4 มุมของบุษบก รองรับส่วนยอดทรงมงกุฎที่ประกอบด้วยชั้นเกี้ยวรัดเกล้าซ้อนลดหลั่น 3 ชั้น แต่ละชั้นประดับดอกไม้ไหว ถัดขึ้นไปเป็นปลียอดเรียวแหลม

จิตรกรรมเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน
พระนครศรีอยุธยา
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน

ภาพเขียนสีฝุ่น ใช้เทคนิคการเขียนภาพแบบตะวันตกโดยคำนึงถึงหลักทัศนียวิทยา ทำให้ภาพมีมิติและระยะใกล้-ไกล ใช้ภาพพระมหาปราสาทและอาคารต่างๆในพระบรมมหาราชวังเป็นฉากหลังในการเล่าเรื่อง ภาพอาคารบ้านเรือน ภาพการแต่งกายของบุคคลไม่ว่าจะเป็นขุนนาง ทหาร และชาวบ้าน เป็นไปตามสมัยนิยมในขณะนั้น

จิตรกรรมฝาผนังวัดคงคาราม
ราชบุรี
จิตรกรรมจิตรกรรมฝาผนังวัดคงคาราม

จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดคงคาราม จ.ราชบุรี มีการจัดวางองค์ประกอบภาพดังเช่นที่นิยมในจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 3 ในกรุงเทพ กล่าวคือ ผนังด้านหลังพระประธานเขียนเรื่องไตรภูมิโลกสัณฐาน ด้านตรงข้ามพระประธานเขียนเรื่องมารผจญ ผนังระหว่างช่องหน้าต่างทั้ง 2 ข้างเขียนเรื่องทศชาดก ผนังเหนือช่องหน้าต่างเขียนเรื่องพุทธประวัติ บานประตูหน้าต่างเขียนภาพทวารบาลเหยียบมาร ตัวละครสำคัญ เช่น พระโพธิสัตว์ พระอินทร์ และเทวดาต่างๆ แสดงออกด้วยท่าทางอย่างนาฏลักษณ์ ส่วนภาพบุคคลประกอบอื่นๆ อย่าง ภาพทหาร ชาวบ้าน แสดงกิริยาอาการอย่างเป็นธรรมชาติ ภาพปราสาทราชวังเป็นแบบไทยประเพณี โดยมีภาพป้อมปราการและกำแพงพระราชวังที่เสมือนจริง มีการใช้เส้นสินเทาแบ่งภาพในบางตอน แต่ส่วนใหญ่ใช้ภาพแนวพุ่มไม้ โขดหิน แนวกำแพงวังเพื่อแบ่งตอนต่างๆ ของภาพ

จิตรกรรมเรื่องนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี
เพชรบุรี
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี

ภาพเขียนสีฝุ่นแสดงภาพมณฑปพระพุทธบาทที่อยู่ด้านบนกึ่งกลางภาพ แวดล้อมด้วยอาคารต่างๆภายในวัด เบื้องล่างลงมาเป็นภาพการเดินทางของผู้คนที่มุ่งหน้าไปยังพระพุทธบาทด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เดินทางด้วยเรือ สัตว์เทียมเกวียน และเดินเท้า มีทั้งภิกษุและฆราวาส ผ่านเส้นทางที่เป็นป่าเขา การเขียนภาพใช้เทคนิคอย่างตะวันตก ให้แสงเงา แสดงถึงมิติและระยะใกล้-ไกล ไม่ใช้เส้นสินเทาในการแบ่งภาพ แต่ใช้แนวพุ่มไม้ และแถวการเดินทางของผู้คนเป็นเส้นนำสายตาไปสูภาพมณฑปพระพุทธบาท ภาพต้นไม้ใช้การระบายให้เป็นพุ่มและไล่สีอ่อนแก่ เช่นเดียวกับภาพท้องฟ้าที่มีปุยเมฆขาวและแรเงาให้เห็นบรรยากาศของท้องฟ้าอย่างเป็นธรรมชาติ

ปูนปั้นเรื่องพุทธศาสนาวัดบางกะพ้อม
สมุทรสงคราม
ประติมากรรมปูนปั้นเรื่องพุทธศาสนาวัดบางกะพ้อม

ภาพปูนปั้นระบายสีและใช้เทคนิคการปิดทองประดับกระจกอยู่ที่บริเวณผนังทั้ง 4 ด้านของวิหารพระพุทธบาท ผนังด้านทิศตะวันออกเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนสำคัญได้แก่ นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส ลอยถาด เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ผนังด้านทิศใต้เล่าเรื่องถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ โดยมีภาพจริยวัตรสงฆ์ประกอบร่วมอยู่ด้วย ผนังด้านทิศตะวันตกเป็นภาพพระอดีตพุทธเจ้าทั้ง 3 องค์ ผนังด้านทิศเหนือเล่าเรื่องตำนานรอยพระพุทธบาท

วัดเฉลิมพระเกียรติ
นนทบุรี
สถาปัตยกรรมวัดเฉลิมพระเกียรติ

พระอุโบสถ พระวิหาร อยู่ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน พระอุโบสถมีขนาดใหญ่กว่าพระวิหาร มีซุ้มใบเสมาอย่างเทศทั้ง 8 ทิศ ทั้งพระอุโบสถและพระวิหารมีรูปแบบอย่างพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 กล่าวคือ มีเสาพาไลทรงสี่เหลี่ยมทึบไม่ประดับบัวหัวเสารองรับเครื่องหลังคาอยู่โดยรอบอาคาร และไม่มีคันทวย หลังคาซ้อนชั้นมุงกระเบื้องเคลือบ หน้าบันปรากฏอิทธิพลแบบจีน โดยเป็นหน้าบันสามเหลี่ยมเรียบ ซ้อนชั้น ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีที่ประดิษฐ์เป็นลายดอกพุดตานก้านแย่งสลับใบ กรอบหน้าบันไม่ประดับเครื่องลำยอง จึงไม่ปรากฏช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ แต่ทำเป็นรูปเศียรนาคแทน