ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 97 ถึง 104 จาก 169 รายการ, 22 หน้า
อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
พระนครศรีอยุธยา
สถาปัตยกรรมอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี

เป็นอนุสาวรีย์หินอ่อนแกะสลักจากประเทศอิตาลี ลักษณะเป็นฐานรูปทรงสี่เหลี่ยมและยอดหกเหลี่ยมทรงสูง มีรายละเอียดดังนี้ผนังด้านทิศตะวันตก ปรากฏข้อความดังนี้ที่รฦกถึงความรักแห่งสมเดจพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรตน์พระบรมราชเทวี อรรคมเหษีอันเสดจทิวงคตแล้วซึ่งเธอเคยมาอยู่ในสวนนี้ โดยความศุขสบายแลเปนที่เบิกบานใจพร้อมด้วยผู้ซึ่งเปนที่รัก แลที่สนิทอย่างยิ่งของเธออนุสาวรี นี้สร้างขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์ บรมราชผู้เปนสวามี อันได้รับความเศร้าโศกเพราะความทุกข์อันแรงกล้าในเวลานั้น แทบจะถึงแก่ชีวิตรถึงกระนั้นยังมิได้หักหายจุลศักราช ๑๒๔๓ผนังด้านทิศตะวันตก ปรากฏข้อความเป็นภาษาอังกฤษในความหมายเดียวกันกับด้านทิศตะวันออกผนังด้านทิศใต้ สลักเป็นตัวอักษร "ส" ภายใต้พระมงกุฎ หมายถึงอักษรพระนามาภิไธยในสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีผนังด้านทิศเหนือ สลักเป็นรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์

อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์
พระนครศรีอยุธยา
สถาปัตยกรรมอนุสาวรีย์ราชานุสรณ์

เป็นอนุสาวรีย์หินอ่อนแกะสลักจากประเทศอิตาลี ลักษณะเป็นแท่นรูปทรงสี่เหลี่ยม แต่ละด้านแกะลวดลายเป็นคูหาสำหรับประดิษฐานพระรูปหินอ่อนแกะสลักเจ้านายที่สิ้นพระชนม์ไปแล้วทั้ง 4 พระองค์ เหนือขึ้นไปเป็นแท่งเสาทรงสี่เหลี่ยมสอบขึ้นไปจนถึงยอด

รำมะนา
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมรำมะนา

ศิลปินได้รับแรงบันดาลใจจากลักษณะของความเป็นไทยจากพระพุทธรูปไทยที่มีสัดส่วนงดงามผนวกกับความคิดส่วนตัวโดยนำการจัดวางโครงสร้างและองค์ประกอบแบบสมัยใหม่มาผสมผสาน และสนใจสร้างงานประติมากรรมโดยการแกะสลักด้วยวัสดุไม้และงาช้าง ดังที่ศิลปินได้แสดงทัศนะไว้ว่า “รำมะนา…เวลาตีเสียงมันก้องกลมกังวาน สนุก จึงสร้างเส้นรอบนอกให้ประสานกันเป็นวงโค้งมีหน้ากลองวงกลมเป็นตัวขัดอยู่ตรงกลาง”

น้ำเงินเขียว
กรุงเทพมหานคร
จิตรกรรมน้ำเงินเขียว

เป็นภาพผู้หญิงเปลือยที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะคิวบิสม์ (Cubism) อันมีลักษณะการวิเคราะห์โครงสร้างของรูปทรงที่คมคาย ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์เดินทางไปศึกษาต่อที่อิตาลี เมื่อ พ.ศ.2497 และเกิดความคิดริเริ่มในการเขียนภาพเปลือย (nude) อาจารย์เฟื้ออธิบายเพิ่มเติมว่า "ให้กรรมวิธีที่มันสะเทือนเลยเบี่ยงเข้าหาจุดที่แสงสว่างจัด เงาจัด รูปคนสักแต่ว่ารูป ไม่ดูว่าเป็นคน คนแค่อาศัยดูว่าเส้นสี อะไรแดงๆ เลย อะไรเหลืองๆ เลย อะไรโค้งได้โค้งเลย กำหนดแสงสว่างเงาอ่อนแก่ จัดรูปโดยแยกไปจากรูปอีกที"

พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบรมรูปเหมือนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชอิริยาบถประทับยืนตรง ทรงฉลองพระองค์เยียรบับ ทรงพระภูษาโจงขอบเชิง พระมาลาทรงหม้อตาล ทรงสายสะพายแบบเลจิอองดอนเนอร์ของฝรั่งเศส ทรงฉลองพระบาท พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบหัตถ์นารายณ์ ทอดปลายพระแสงดาบลงพื้น พระหัตถ์ซ้ายทรงถือหนังสือ

แบบร่างประติมากรรมพระบรมราชาอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมแบบร่างประติมากรรมพระบรมราชาอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระบรมรูปอยู่ในลักษณะทรงฉลองพระองค์และพระมาลา ประทับนั่งห้อยพระบาทบนพระราชบัลลังก์ ซึ่งเป็นแบบร่างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฝั่งพระนคร หรือพระปฐมบรมราชานุสรณ์

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

พระบรมรูปมีขนาดสองเท่าครึ่งของพระองค์จริง ทรงม้าพระที่นั่งออกศึก ทรงเครื่องกษัตริย์และสวมพระมาลา พระหัตถ์ขวาเงื้อพระแสงดาบในท่านำพล พระหัตถ์ซ้ายทรงกุมบังเหียน ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ทางจังหวัดจันทบุรี ประดิษฐานบนแท่น ทั้งสองด้านประดับด้วยประติมากรรมนูนสูงเล่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ด้านละ 2 กรอบ รวม 4 กรอบ เล่าเหตุการณ์ 4 เหตุการณ์ได้แก่ ภาพประชาชนหมดหวังเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่า ภาพพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเกลี้ยกล่อมประชาชนให้ร่วมกันกู้อิสรภาพ ภาพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีออกรบและได้รับชัยชนะทุกครั้ง และภาพความผาสุกของประชาชนหลังจากกู้เอกราชได้แล้ว ด้านหน้ามีแผ่นจารึกดวงฤกษ์และข้อความเทิดพระเกียรติ

ชื่อหลัก	พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์
พระนครศรีอยุธยา
สถาปัตยกรรมชื่อหลัก พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์

พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์เป็นพระที่นั่งทรงปราสาทจตุรมุขโถงจำลองแบบมาจากพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง มุขด้านทิศตะวันออกและตะวันตกเป็นมุขสั้นหลังคาลดสองชั้น ด้านหน้าและด้านใต้หลังคาลดสี่ชั้น เครื่องยอดทรงปราสาทประดับด้วยครุฑยุดนาคที่มุมทั้ง 4 หน้าบันทั้ง 4 ด้านประดับตราอาร์มหรือตราแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 มีเสารับย่อมุมไม้สิบสอง มีชานประกอบกำแพงแก้วทั้ง 4 ด้าน ด้านตะวันตกมีอัฒจันทร์ลงสู่สระ คานล่างก่อเสาคอนกรีตรับพื้นองค์พระที่นั่งทรงสามเหลี่ยม