Arts in Southeast Asia
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศิลปกรรมยอดนิยม
Most Popular
ศิลปกรรมล่าสุด
Latest
หอคอยมัสยิดกำปงกลิง
อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย
อาณานิคมดัตช์
พุทธศตวรรษที่ 22-23
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้
ประตูเมืองพระนครหลวง ประกอบไปด้วยสองส่วน คือประตูเมืองซึ่งออกแบบเป็นพระพักตร์ของบุคคลจำนวน 4 พักตร์ และราวสะพานด้านหน้าข้ามคูเมืองซึ่งมีราวสะพานเป็นรูปการกวนเกษียรสมุทร ซุ้มประตูซึ่งมีพระพักตร์ทั้งสี่นี้บางท่านสันนิษฐานว่าอาจหมายถึง “จตุโลกบาลทั้งสี่” ผู้ดูแลทั้งสี่ทิศของจักรวาลก็ได้ ราวบันไดรูปการกวนเกษียรสมุทรนั้น ย่อมแสดงให้เห็นคติที่ว่าบุคคลผ้อยู่ในเมืองดังกล่าวได้รับการปะพรมน้ำอมฤตเสมอและเป็นผู้เป็นอมตะประหนึ่งเทดวา
สถาปัตยกรรมประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้
ประตูเมืองพระนครหลวง ประกอบไปด้วยสองส่วน คือประตูเมืองซึ่งออกแบบเป็นพระพักตร์ของบุคคลจำนวน 4 พักตร์ และราวสะพานด้านหน้าข้ามคูเมืองซึ่งมีราวสะพานเป็นรูปการกวนเกษียรสมุทร ซุ้มประตูซึ่งมีพระพักตร์ทั้งสี่นี้บางท่านสันนิษฐานว่าอาจหมายถึง “จตุโลกบาลทั้งสี่” ผู้ดูแลทั้งสี่ทิศของจักรวาลก็ได้ ราวบันไดรูปการกวนเกษียรสมุทรนั้น ย่อมแสดงให้เห็นคติที่ว่าบุคคลผ้อยู่ในเมืองดังกล่าวได้รับการปะพรมน้ำอมฤตเสมอและเป็นผู้เป็นอมตะประหนึ่งเทวดา
สถาปัตยกรรมปราสาทบันทายกุฎี
ปราสาทบันทายกุฎี เป็นปราสาทในศิลปะบายน สร้างขึ้นโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นอาคารที่ประกอบไปด้วยยอดปราสาทจำนวนมาก เชื่อต่อกันด้วยระเบียงกากบาท ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปราสาทในสมัยนี้ ปราสาทอยู่ในผังคล้ายตารางซึ่งแสดงให้เห็นว่าปราสาทถูกออแบบตาม “คติมณฑล” ในพุทธศาสนามหายาน
สถาปัตยกรรมบารายด้านหน้าปราสาทบันทายกุฎี
ท่าน้ำขั้นบันไดด้านหน้าปราสาทบันทายกุฎี สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพื่อให้สระสรงกลายเป็นสระน้ำประจำปราสาทบันทายกุฎี ท่าน้ำแห่งนี้มีลักษระเป็นกากบาทตามแบบที่นิยมมาตั้งแต่ศิลปะสมัยนครวัด อย่างไรก็ตามครุฑยุดนาคที่ประดับตามราวบันไดนั้นถือเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะบายนอย่างแท้จริง
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน D
ปราสาทมิเซิน D มีสองหลังสำคัญคือ ปราสาทมิเซิน D1 และปราสาทมิเซิน D2 ทั้งสองหลังเป็นมณฑปภายนอกกำแพงของปราสาทมิเซินกลุ่ม B และ C มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ด้านบนคงสร้างขึ้นด้วยหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องซึ่งไม่หลงเหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน ด้านข้างประดับด้วยเสาติดผนัง ซุ้มประติมากรรมสลับกับหน้าต่างที่ประดับด้วยลูกมะหวด
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน B1
ปราสาทมิเซิน B1 เป็นปราสาทเพียงหลังเดียวในศิลปะจามที่สร้างขึ้นด้วยหินทั้งหลัง เนื่องจากโดยปกติแล้วศิลปะจามมักสร้างปราสาทด้วยอิฐเสมอ ฐานของปราสาทแห่งนี้ยังคงหลงเหลือลวดบัวซึ่งประดับด้วยปราสาทจำลอง
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน F
ปราสาทมิเซิน F เป็นปราสาทที่เก่าแก่ที่สุดหลังหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานที่มิเซิน ลวดลายที่ประดับปราสาทมีความคล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียและศิละขอมสมัยก่อนเมืองพระนครอย่างมาก ทำให้สามารถกำหนดอายุได้ว่าอาจมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13
สถาปัตยกรรมรายละเอียดฐานปราสาทมิเซิน F
ฐานของปราสาทมิเซิน F มีลวดลายที่คล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียและศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนครอย่างมาก อันได้แก่ลายบุคคลเหาะในช่อง และภาพลูกกรงหรือเวทิกา ซึ่งทำให้สามารถกำหนดอายุได้ว่าอาจมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13