Arts in Southeast Asia
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศิลปกรรมยอดนิยม
Most Popular
ศิลปกรรมล่าสุด
Latest
หอคอยมัสยิดกำปงกลิง
อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย
อาณานิคมดัตช์
พุทธศตวรรษที่ 22-23
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมฐานเป็นชั้นของปราสาทแม่บุญตะวันออก
ปราสาทแม่บุญตะวันออก ตั้งอยู่กลางบารายตะวันออกด้วยเหตุนี้ ฐานเป็นชั้นท่รองรับปราสาทก็คือ “ฐานของเกาะกลางบาราย” นั่นเองฐานนี้ก่อด้วยศิลาแลงซึงเป็นวัสดุที่แข็งเหมาะสำหรับการทำเป็นฐานรองรับปราสาทแต่ไม่เหมาะสำหรับการสลักลวดลาย ที่มุมของฐานมีประติมากรรมช้างอยู่ทั้งสี่ทิศ ฐานเป็นชั้นของปราสาทแม่บุญตะวันออกนี้ปัจจุบันตั้งอยู่บนพื้นดินที่แห้งขอด เนื่องจากบารายตะวันออกไม่ได้คงสภาพเป็นทะเลสาบอีกต่อไปแล้ว
สถาปัตยกรรมโคปุระของปราสาทบันทายสรี
โคปุระของปราสาทบันทายสรี ประกอบด้วยหน้าจั่วสามเหลี่ยมซึ่งเลียนแบบมาจากอาคารเครื่องไม้ ที่น่าสนใจก็คือ ที่ปลายหน้าจั่วมีลายตกแต่งเป้รูปขมวดม้วน ซึ่งอาจกลายมาจากงวงของมกรก็ได้ หน้าจั่วเช่นนี้ปรากกฎมาก่อนกับปราสาทในศิลปะเกาะแกร์ และจะปรากฏอีกกับปราสาทในศิลปะบาปวนบางหลัง เช่นปราสาทพระวิหาร
สถาปัตยกรรมมณฑปของปราสาทบันทายสรี
ปราสาทบันทายสรีเป็นปราสาทบนพื้นราบที่เน้นแนวแกนกลาง ด้วยเหตุนี้ปราสาทประธานจึงปรากฏมณฑปในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งตรงตามแนวแกนตะวันออก มณฑปนั้นเป็นห้องสำหรับรอกระทำพิธีกรรมและเป็นห้องสำหรับผู้ศรัทธาที่ไม่สามารถเข้าไปภายในครรภคฤหะได้ หน้าบันด้านหน้าของปราสาทบันทายสรี เป็นภาพของพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึงถือเป็นเทพประจำทิศตะวันออกที่มักปรากฏเสมอแม้ว่าปราสาทหลังนั้นจะไม่ได้อุทิศให้กับพระอินทร์ก็ตาม
ประติมากรรมปราสาทประธาน : ปราสาทบันทายสรี
ปราสาทบันทายสรีเป็นปราสาทบนพื้นราบที่เรียงกันสามหลัง หลังกลางอุทิศให้กับพระศิวะ ส่วนหลังข้างนั้น แม้ว่าจะไม่ปรากฏจารึกว่าสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้ใคร แต่อาจเป็นไปได้ว่าอุทิศหับพระเทวีสององค์ของพระศิวะ คือพระอุมากับพระคงคา เนื่องจากทวารบาลของปราสาททั้งสองหลังล้วนแต่เป็นนางอัปสรทั้งสิ้นปราสาททั้งสามหลังมีลักษณะตามแบบศิลปะพระนครตอนปลายโดยทั่วไปท่สร้างด้วยหิน อย่างไรก็ตามปราสาทยังคงเว้นประตูสามด้านไว้เป็นประตูหลอก ด้านบนของชั้นวิมานยังคงประดับด้วยปราสาทจำลองซึ่งแตกต่างไปจากปราสาทในศิลปะนครวัดที่ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นกลีบขนุน
สถาปัตยกรรมปราสาทประธานของปราสาทบันทายสรี
ปราสาทบันทายสรีเป็นปราสาทบนพื้นราบที่เรียงกันสามหลัง หลังกลางอุทิศให้กับพระศิวะ ส่วนหลังข้างนั้น แม้ว่าจะไม่ปรากฏจารึกว่าสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้ใคร แต่อาจเป็นไปได้ว่าอุทิศหับพระเทวีสององค์ของพระศิวะ คือพระอุมากับพระคงคา เนื่องจากทวารบาลของปราสาททั้งสองหลังล้วนแต่เป็นนางอัปสรทั้งสิ้น ปราสาททั้งสามหลังมีลักษณะตามแบบศิลปะพระนครตอนปลายโดยทั่วไปท่สร้างด้วยหิน อย่างไรก็ตามปราสาทยังคงเว้นประตูสามด้านไว้เป็นประตูหลอก ด้านบนของชั้นวิมานยังคงประดับด้วยปราสาทจำลองซึ่งแตกต่างไปจากปราสาทในศิลปะนครวัดที่ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นกลีบขนุน
สถาปัตยกรรมบรรณาลัยของปราสาทบันทายสรี
บรรณาลัยของปราสาทบันทายสรี สร้างขึ้นทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ของปราสาทประธาน ทางทิศใต้มีภาพเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับพระสิวะเท่านั้น ส่วนทางดานเหนือมีภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับพระกฤษณะ บรรณาลัยมีชั้นเชิงของหน้าบันที่น่าสนใจ เป็นหน้าบันกรองคดโค้งที่มีปลายเป็นรูปนาค ครุฑและสิงห์ ซึ่งต่อมา หน้าบันรูปคดโค้งนี้จะได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งในศิลปะบาปวนจนถึงบายน ชั้นเชิงการจัดวางหน้าบันกลางที่ซ้อนกันถึงสามชั้น โดยที่หน้าบันชั้นที่สองมีปีกนกยื่นออกมาทำให้บรรณาลัยแห่งนี้มีความงดงามทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง
สถาปัตยกรรมปราสาทตาแก้ว
เป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นจำนวน 3 ชั้น ด้านบนบนมีปราสาทจำนวน 5 หลัง สืบพัฒนาการมาจากปราสาทแปรรูป อย่างไรก็ตาม เป็นครั้งแรกที่ปราสาททั้งหมดสร้างด้วยหินและสามารถเจาะประตูเข้าได้ทั้งสี่ทิศ มีระเบียงคดอยู่โดยรอบที่ด้านล่างฐานเป็นชั้น ซึ่งเป็นพัฒนาการใหม่มาจากอาคารยาวๆ ที่ไม่ต่อเนื่องกันที่ปราสาทแปรรูป ปราสาทยังสร้างไม่สำเร็จ ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่ปรากฏลวดลายใดๆ
สถาปัตยกรรมปราสาทประธานของปราสาทตาแก้ว
ภาพนี้เป็นภาพหนึ่งในห้าปราสาทประธานของปราสาทตาแก้ว ปราสาททั้งหมดสร้างด้วยหินและสามารถเจาะประตูเข้าได้ทั้งสี่ทิศ ซึ่งมีพัฒนาการแตกต่างไปจากปราสาทก่อนหน้านี้ที่สร้างด้วยอิฐและยังไม่สามารถเจาะประตูได้สี่ทิศ อย่างไรก็ตาม ปราสาทแห่งนี้ยังสร้างไม่สำเร็จ ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่ปรากฏลวดลายใดๆ