Arts in Southeast Asia

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศิลปกรรมยอดนิยม

Most Popular

ศิลปกรรมล่าสุด

Latest

678

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

มาเลเซีย

สมัย/รูปแบบศิลปะ
อาณานิคมดัตช์
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 22-23
ประเภทงานศิลปะ
สถาปัตยกรรม
มหาเจดีย์
สถาปัตยกรรมมหาเจดีย์

เจดีย์ประกอบด้วยฐานในผังแปดเหลี่ยมเพิ่มมุม เป็นฐานลาดตามแบบมอญ แต่กลับมีบันไดขึ้นและมีทางประทักษิณด้านบนตามแบบพม่า ถัดขึ้นไปได้แก่ฐานเขียงในผังกลมจำนวนมากตามแบบมอญ รองรับองค์ระฆัง ส่วนยอดเป็นของซ่อมใหม่สมัยปัจจุบัน การที่เจดีย์องค์นี้มีการผสมผสานกันระหว่างศิลปะมอญและศิลปะพม่านั้น สอดรับกับประวัติศาสตร์ของพม่าในระยะนั้นที่ราชวงศ์ตองอูของพม่าได้ยกทัพลงมายึดครองเมืองหงสาวดีของชาวมอญ จึงทำให้เกิดการผสมผสานกันระหว่างเจดีย์สองแบบ

ไจก์ติโย
ไจก์ติโย
สถาปัตยกรรมไจก์ติโย

ก้อนหินที่แขวนอยู่บนหน้าผา เกือบจะร่วงหล่นแต่ไม่ร่วงหล่น ถือเป็นความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติที่ต่อมาถูกดัดแปลงให้กลายเป็นพุทธสถานได้ ชาวกระเหรี่ยงพื้นถิ่นผู้นับถือผีมาก่อนคงจะสังเกตเห็นความมหัศจรรย์ดังกล่าวและสถาปนาก้อนหินดังกล่าวให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งต่อมาได้ถูกดัดแปลงเป็นพุทธสถานโดยชาวมอญและมีการแต่งตำนานแบบพุทธเพื่อโยงความศักดิ์สิทธิ์เข้ากับความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติดังกล่าว

เจดีย์กองมูดอ
สะกาย
สถาปัตยกรรมเจดีย์กองมูดอ

เจดีย์ประกอบด้วยอัณฑะทรงโอคว่ำขนาดใหญ่ตามแบบศิลปะลังกาสมัยอนุราธปุระ ฐานเตี้ยๆ ในผังกลม ทั้งหมดนี้แสดงการจำลองแบบมาจากศิลปะลังกา อย่างไรก็ตาม ด้านบนเจดีย์กลับไม่ปรากฏหรรมิกาและฉัตรวลี ซึ่งเป็นลักษณะที่แปลกประหลาด

เจดีย์มินกุน
มินกุน
สถาปัตยกรรมเจดีย์มินกุน

เป็นเจดีย์ทรงปราสาทที่มีเรือนธาตุขนาดใหญ่ เป็นแท่งทึบตัน เพื่อรองรับชั้นหลังคาและศิขระขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม น่าเสียดายที่การสร้างเจดีย์องค์นี้ต้องล้มเลิกไปภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าปดุง ทำให้ชั้นเรือนธาตุเท่านั้นที่เสร็จสมบูรณ์

รูปจำลองของเจดีย์มินกุน
มินกุน
สถาปัตยกรรมรูปจำลองของเจดีย์มินกุน

เนื่องจากเจดีย์เมืองมินกุนองค์จริงสร้างไม่สำเร็จ เราจำเป็นต้องศึกษาภาพเต็มของเจดีย์องค์นี้จากรูปจำลองซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากเจดีย์องค์จริง เจดีย์จำลององค์นี้ปรากฏยอดศิขระและยอดเจดีย์บนยอดของเรือนธาตุซึ่งแสดงให้เห็นว่า เจดีย์องค์จริงอาจตั้งใจที่จะมียอดศิขระเช่นกัน

เจดีย์ชินบยูเม
มินกุน
สถาปัตยกรรมเจดีย์ชินบยูเม

เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อจำลองจักรวาลตามคติทางพุทธศาสนา อันประกอบด้วยเจดีย์จุฬามณีบนยอดเขาพระสุเมรุ บันไดสำหรับการเสด็จลงจากดาวดึงส์ วิมานของเทวดาบนสวรรค์และที่อยู่ของมนุษย์ต่างๆเช่นนาคที่ตีนเขาพระสุเมรุ สัตตบริภันฑ์ซึ่งได้แก่กำแพงในผังกลมรายรอบเจดีย์ประธาน เจดีย์องค์นี้ถือเป็นการจำลองจักรวาลที่สมบูรณ์ที่สุดในศิลปะพม่า อนึ่ง การจำลองจักรวาลนั้นดูเหมือนว่าเป็นที่นิยมเฉพาะในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเลเท่านั้น ไม่เคยปรากฏมาก่อนในศิลปะพุกาม

เจดีย์ปาโตดอจี
อมรปุระ
สถาปัตยกรรมเจดีย์ปาโตดอจี

เจดีย์รองรับด้วยฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมจำนวนสามชั้น แต่ละชั้นมีลวดบัวคล้ายคลึงกับฐานในศิลปะพุกาม เช่นการคาดลูกแก้วสองเส้นซึ่งมีภาพเล่าเรื่องอยู่ตรงกลาง กึ่งกลางฐานมีบันไดขึ้นไปสู่ทางประทักษิณด้านบนซึ่งมีทั้งสามชั้น องค์ระฆังประดับด้วยหน้ากาลคายพวงมาลัย ปล้องไฉนเป็นทรงกรวยสูงรอบรับปลีซึ่งยืดสูงเช่นกัน ลักษณะทั้งหมดนี้คล้ายคลึงกับเจดีย์พุกามมากยกเว้นปล้องไฉนและปลีซึ่งยืดสูงกล่าวศิลปะพุกาม เจดีย์องค์นี้มีความพยายามในการเลียนแบบศิลปะพุกามอย่างมาก ซึ่งถือเป็นแนวโน้มโดยทั่วไปในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล

เจดีย์จอกตอจี
อมรปุระ
สถาปัตยกรรมเจดีย์จอกตอจี

เจดีย์จอกตอจีถือเป็นเจดีย์จำลองอานันทเจดีย์ที่งดงามที่สุดในศิลปะอมรปุระ เจดีย์มียอดศิขระซ้อนด้วยยอดเจดีย์เช่นเดียวกับศิลปะพุกาม นอกจากนี้ยังมีความพยายามในการแบ่งเก็จตามแบบศิขระพุกามอีกด้วย ที่ด้านทั้งสี่ปรากฏมุขยื่นออกมาสี่ทิศและลวดลายหน้าบันที่ประดับด้วยมกรและเคล็กตั้งตรงตามแบบพุกาม อย่างไรก็ตาม รายละเอียดการตกแต่งอื่นๆ กลับแตกต่างไปจากศิลปะพุกามพอสมควร อนี่ง ศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล มีความพยายามในการเลียนแบบศิลปะพุกามอย่างมาก ดังปรากฏในหลายตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่าสถาปนิกชาวพม่าในสมัยหลังยกย่องศิลปะพุกามว่าเป็นจุดสูงสุดของศิลปะพม่า