Arts in Southeast Asia
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศิลปกรรมยอดนิยม
Most Popular
ศิลปกรรมล่าสุด
Latest
หอคอยมัสยิดกำปงกลิง
อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย
อาณานิคมดัตช์
พุทธศตวรรษที่ 22-23
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมหอไตร วัดสีสะเกด
หอไตรวัดสีสะเกด เป็นหอไตรที่มีหลังคาทรงมณฑป (หลังคาลาดซ้อนชั้นประดับหน้าบันขนาดเล็ก) คล้ายคลึงอย่างมากกับหอไตรที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพ อย่างไรก็ตาม การซ้อนชั้นของหลังคาที่ชั้นเชิงตามแบบล้านช้างและกระเบื้องที่ไม่เคลือบสีล้วนแต่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบล้านช้างเอง ภายในเป็นที่ตั้งของตู้พระไตรปิฎกขนาดใหญ่ลงรักปิดทอง
สถาปัตยกรรมธาตุดำ
ที่น่าประหลาดก็คือ ธาตุฝุ่นเป็นเจดีย์เพียงแห่งเดียวในแถบนี้ที่พยายามจำลองเจดีย์แบบมอญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบของฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมจำนวนมาก เป็นฐานลาดเอียงรองรับองค์ระฆังที่ไม่มีบัลลังก์นั้น ล้วนแค่เป็นรูปแบบสำคัญของเจดีย์มอญในประเทศพม่า
สถาปัตยกรรมโบสถ์ซานออกุสติน
เซนต์เจมส์ หนึ่งในอัครสาวกของพระเยซูและนักบุญผู้อุปถัมภ์ประเทศสเปน เนื่องจากฟิลิปปินส์เคยตกเป็นเมืองขึ้นสเปนจึงมีการใช้ภาพนักบุญองค์นี้ประดับประตูของป้อมซานติอาโก้ด้วย
ประติมากรรมนางอัปสร
ประติมากรรมทวารบาลสตรี เกล้ามวยผมไปด้านหลัง เปลือยกายท่อนบน ไม่สวมเสื้อ สวมเครื่องประดับ นุ่งผ้านุ่งยาวเรียบไม่มีริ้ว มีการชักชายผ้าออกมาตรงขอบผ้านุ่ง รวมถึงปรากฏเส้นริ้วตรงกลางผ้านุ่งลักษณะคล้ายกับจีบหน้านางในสมัยก่อนเมืองพระนคร แต่มีลักษณะลายแบบชายผ้าหางปลา ทวารบาลอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว เป็นซุ้มคดโค้งตามแบบศิลปะบันทายศรี
สถาปัตยกรรมปราสาทถูเทียน
เป็นปราสาทหลังโดด มีความสูงเป็นอย่างมาก ตั้งอยู่บนพื้นราบ ปราสาทประดับด้วยเสาติดผนังจำนวน 5 ต้นที่ไม่มีร่องและไม่มีลวดลาย กึ่งกลางเรือนธาตุประดับปราสาทจำลองขนาดใหญ่ ซึ่งตกแต่งด้วยซุ้มใบหอกอีกทีหนึ่ง การที่ปราสาทมีความสูงเป็นอย่างมาก มีเสาติดจำนวน 5 ต้นที่ไม่มีร่องและไม่มีลวดลาย แสดงให้เห็นลักษณะของปราสาทแบบบิญดิ่นตอนปลาย ปราสาทจำลองที่เรือนธาตุซึ่งมีซุ้มใบหอกประดับก็ถือเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยนี้เช่นเดียวกัน