Arts in Southeast Asia
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศิลปกรรมยอดนิยม
Most Popular
ศิลปกรรมล่าสุด
Latest
หอคอยมัสยิดกำปงกลิง
อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย
อาณานิคมดัตช์
พุทธศตวรรษที่ 22-23
สถาปัตยกรรม
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องตอนปรินิพพานที่อานันทเจดีย์
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ “ประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ” ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ทางประทักษิณภายในและมณฑปทั้งสี่ทิศ พระพุทธรูปเล่าเรื่องพุทธประวัติที่อานันทเจดีย์ ถือเป็นประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติที่สมบูรณ์ที่สุดในศิลปะพุกาม
ประติมากรรมภาพดินเผาเคลือบรอบอานันทเจดีย์
ที่ฐานภายนอกอานันทเจดีย์ปรากฏแผ่นดินเผาเคลือบสีเขียวซึ่งเป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะพม่า ปรากฏตั้งแต่ศิลปะพุกามลงมา ภาพเล่าเรื่องเหล่านี้ประดับกลางท้องไม้ซองฐานบัวซึ่งเป้นระเบียบที่นิยมในศิลปะพุกามเช่นกัน
ประติมากรรมภาพดินเผาเคลือบรอบอานันทเจดีย์
ที่ฐานภายนอกอานันทเจดีย์ปรากฏแผ่นดินเผาเคลือบสีเขียวซึ่งเป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะพม่า ปรากฏตั้งแต่ศิลปะพุกามลงมา ภาพเล่าเรื่องเหล่านี้ประดับกลางท้องไม้ซองฐานบัวซึ่งเป้นระเบียบที่นิยมในศิลปะพุกามเช่นกัน
ประติมากรรมซุ้มหน้าต่างของเจดีย์กุพโยคจีที่มยิงกาบา
เจดีย์กุพโยคจีถือเป็นตัวอย่าง “หน้าต่างซ้อนยอดปราสาท” ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะพุกาม ซุ้มหน้าต่างมีแผ่นหินมาปิดเพื่อควบคุมแสงให้เข้าไปภายในได้น้อยตามสุนทรียภาพแบบพุกามตอนต้น ด้านบนปรากฏหน้าบันซึ่งเจาะรูทำให้แสงเข้าไปภายในได้มากขึ้น ซุ้มเคล็กมีลักษณะเป็นเคล็กสั้นและเอียงเข้าหาจุดศูนย์กลางตามแบบพุกามตอนต้น ด้านบนปรากฏการซ้อนยอดปราสาทที่ประกอบด้วยหลังคาลาดและมียอดอามลกะตามแบบอินเดียเหนือ
ประติมากรรมซุ้มเคล็กของเจดีย์กุพโยคแงที่มยิงกาบา
เจดีย์กุพโยคแงถือเป็นตัวอย่าง “ซุ้มเคล็กแบบพุกามตอนปลาย” ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะพุกาม ซุ้มประตูมีเคล็กยาวยืดสูงและตั้งตรง ด้านบนปรากฏเทพเจ้าประทับบนพาหนะ เคล็กข้างประดับรูปบบุคคลหรือรูปสัตว์ ส่วนงวงไอยราด้านข้างประดับด้วยมกรกำลังคายสิงห์ซึ่งเป้นลายที่นิยมในสมัยพุกามตอนปลาย
ประติมากรรมซุ้มหน้านางแบบลังกา
ซุ้มหน้านาง คือซุ้มที่เป็นวงโค้ง ไม่มีเคล็กอยู่ด้านบน ซุ้มแบบนี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของซุ้มมกรโตรณะตามแบบลังกาที่ข้ามามีบทบาทอย่างมากในศิลปะพุกามตอนปลาย ตอบรับกับประวัติศาสตร์ที่พระภิกษุชาวพุกามที่ไปเรียนลังกาได้กลับมายังพุกามจำนวนมากและนำเอาพุทธศาสนาลังกาวงศ์กลับมาด้วย
ประติมากรรมลายหน้ากาลคายพวงมาลัย-พวงอุบะ
ที่ด้านบนของเรือนธาตุเจตียวิหารในศิลปะพุกาม ย่อมประดับด้วยลายหน้ากาลคายพวงมาลัย-พวงอุบะเสมอ ลวดลายดังกล่าวปรากฏมาก่อนในศิลปะปาละก่อนที่จะได้รับความนิยมอย่างมากในศิลปะพุกาม ลวดลายดังกล่าวยังแสดงให้เห็นความปรารถนาที่จะให้เรือนธาตุได้รับการตกแต่งด้วยดอกไม้สดเสมอ
ประติมากรรมลายกาบล่างประดับหน้ากาล
ที่ด้านล่างของเสาติดผนังที่ประดับเรือนธาตุเจตียวิหารในศิลปะพุกามตอนปลาย ย่อมประดับลาย “กาบล่าง” เสมอ อันเป็นส่วนหนึ่งของลายประดับเสาติดผนังจำนวนสามจุด คือ “กาบบน-ประจำยามอก-กาบล่าง” โดยลายทั้งหมดอยู่ในกรอบรูปสามเหลี่ยมและมีลายพันธุ์พฤกษาหรือลายกนกบรรจุอยู่เต็ม บางครั้งก็มีลายหน้ากาลคายพันธุ์พฤกษาด้วย