ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมประติมากรรมประธานในปราสาทโพโรเม
ประติมากรรมโพโรเม ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยหลังได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะสำคัญคือประทับนั่งเห็นเพียงครึ่งพระองค์ ด้านล่างจมหายไปกับแผ่นหลัง พระหัตถ์จำนวนมากก็เข้าไปติดยึดกับแผนหลังเช่นกัน พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนามส่วนมงกุฎมักเป็นทรงกระบอก
ประติมากรรมประติมากรรมสมัยหลัง
ประติมากรรมชิ้นนี้ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยหลังได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะสำคัญคือประทับนั่งเห็นเพียงครึ่งพระองค์ ด้านล่างนั่งขัดสมาธิแบบจมหายไปกับแผ่นหลัง พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนามและสวมมงกุฎแบบกระบังหน้า
ประติมากรรมประติมากรรมสมัยหลัง
ประติมากรรมชิ้นนี้ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยหลังได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะสำคัญคือประทับนั่งเห็นเพียงครึ่งพระองค์ ด้านล่างนั่งขัดสมาธิแบบจมหายไปกับแผ่นหลัง พระหัตถ์จำนวนมากก็เข้าไปติดยึดกับแผนหลังเช่นกัน พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนามและสวมมงกุฎหมวกทรงกระบอก
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องรามายณะที่จันทิปรัมบะนัน
รูปแบบภาพล่าเรื่องที่จันทิปรัมบะนันมีพัฒนาการแล้วจากภาพเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ กล่าวคือ นิยมการถมพื้นที่ว่างจนเต็มไปด้วยลวดลายธรรมชาติ เช่น ภาพภูเขาและต้นไม้ ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้เรียกโดยศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศว่า “การรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่า” ซึ่งแสดงแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออกเข้าไปทุกที แม้ว่าลักษณะบางประการจะใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออก แต่ภาพบุคคลยังคงกลมกลึงมีปริมาตร และหลายครั้งยังคงหันหน้าตรงตามแบบภาพเล่าเรื่องในศิลปะอินเดีย
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องพระกฤษณะที่จันทิปรัมบะนัน
รูปแบบภาพล่าเรื่องที่จันทิปรัมบะนันมีพัฒนาการแล้วจากภาพเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ กล่าวคือ นิยมการถมพื้นที่ว่างจนเต็มไปด้วยลวดลายธรรมชาติ เช่น ภาพภูเขาและต้นไม้ ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้เรียกโดยศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศว่า “การรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่า” ซึ่งแสดงแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออกเข้าไปทุกที แม้ว่าลักษณะบางประการจะใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออก แต่ภาพบุคคลยังคงกลมกลึงมีปริมาตร และหลายครั้งยังคงหันหน้าตรงตามแบบภาพเล่าเรื่องในศิลปะอินเดีย
ประติมากรรมพระวิษณุ
พระวิษณุองค์นี้ถือเป็นตัวอย่างสำหรับศึกษาเครื่องแต่งกายในศิลปะชวาภาคกลางได้เป็นอย่างดี พระวิษณุทรงกิรีฏมกุฎที่ประดับด้วยตาบจำนวน 5 ตายตามแบบปาละ ทรงอุทรพันธะตามแบบอินเดียใต้ ทรงผ้านุ่งสั้นข้างยาวข้างซึ่งเป็นผ้านุ่งแบบหนึ่งในศิลปะปาละ มีเข็มขัดเพชรพลอยตามแบบปาละแต่มีผ้าคาดวงโค้งตามแบบอินเดียใต้ น่าสังเกตว่าเครื่องแต่งกายในศิลปะชวาภาคกลางนั้นมักเป็นส่วนผสมกันระหว่างศิลปะปาละและอินเดียใต้
ประติมากรรมพระอคัสตยะ
ประติมากรรมพระอคัสตยะทรงชฎามกุฎที่มีกระบังหน้าประดับด้วยตาบตามแบบปาละ ทรงผ้าคาดเฉียงสั้น และทรงเข็มขัดโบหูกระต่ายตามแบบอินเดียใต้
ประติมากรรมพระมหิษาสูรมรรทนี
พระมหิษาสูรมรรทนีองค์ทรงเครื่องทรงสำหรับผู้หญิงตามแบบอินเดีย อันได้แก่ การทรงสร้อยคอรูปกากบาทซึ่งนิยมกับประติมากรรมสตรี เทพชั้นรองและเด็ก ที่ผ้านุ่งปรากฏเข็มขัดโบหูกระต่ายแทรกซ้อนเข้ากับผ้าคาดวงโค้งตามแบบอินเดียใต้