ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระมหิษาสูรมรรทนี
คำสำคัญ : นางทุรคา, เทพเจ้าหญิง
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
---|---|
ที่อยู่ | พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ |
จังหวัด/เมือง | จาการ์ตา |
รัฐ/แขวง | ชวา ตะวันตก |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : -6.176944 Long : 106.821944 |
ประวัติการสร้าง | - |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระมหิษาสูรมรรทนีองค์ทรงเครื่องทรงสำหรับผู้หญิงตามแบบอินเดีย อันได้แก่ การทรงสร้อยคอรูปกากบาทซึ่งนิยมกับประติมากรรมสตรี เทพชั้นรองและเด็ก ที่ผ้านุ่งปรากฏเข็มขัดโบหูกระต่ายแทรกซ้อนเข้ากับผ้าคาดวงโค้งตามแบบอินเดียใต้ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ชวาภาคกลางตอนกลาง |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 13-15 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ลัทธิ/นิกาย | ศักติ |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พระมหิษาสูรมรรทนี ทรงเป็นภาคปรากฏหนึ่งของพระทุรคา ทรงปราบอสูรรูปควาย (มหิษสูร) อันเป็นสัญลักษณ์ของอวิชชาและความโง่เขา การที่พระนางกำลังฆ่าอสูรนั่นย่อมเป็นสัญลักษณ์การประทานความหลุดพ้นไปสู่ผู้กราบไหว้พระนาง |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | ประติมากรรมองค์นี้มีหลายพระกรซึ่งกำลังถืออาวุธครบมืออันแสดงความดุร้าย เหยียบอยู่บนอสูรรูปควาย พระกรหนึ่งของพระนางกำลังจิกหัวอสูร และอีกพระกรหนึ่งกำลังดึงหางควาย |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |