ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ท้าวกุเวรสำริด

คำสำคัญ : ประติมากรรมสำริด

ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ที่อยู่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ
จังหวัด/เมืองจาการ์ตา
รัฐ/แขวงชวา ตะวันตก
ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : -6.176944
Long : 106.821944

ประวัติการสร้าง-
ลักษณะทางศิลปกรรมประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลังประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบบัลลังก์ที่คล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการประดับอามลกะและหงส์ที่คานนอก และวยาลเหยียบช้าง ประภามณฑลมีเปลวไฟและมีฉัตรประดับ ท่แท่นบัลลังก์มีผ้าทิพย์รูปวงโค้ง
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง
อายุพุทธศตวรรษที่ 13-15
ศาสนาพุทธ, พราหมณ์-ฮินดู
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องท้าวกุเวร เป็นเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย สัมพันธ์กับการประทานโชคลาภ ด้วยเหตุนี้ จึงมักพบว่าพระองค์ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าศาสนสถานเพื่ออวยพรคน นอกจากนี้ยังพบในประติมากรรมขนาดเล็กซึ่งอาจแสดงการใช้งานแบบพิเศษก็ได้ เช่น เป็นเครื่องราง หรือใช้บูชาเป็นส่วนตัว
งานศิลปะที่เกี่ยวข้องในศิลปะชวาภาคกลาง ชัมภละสำริดขนาดเล็กส่วนมากมักมีประติมานวิทยาที่ตรงกับสาธนมาลา กล่าวคือ มีพุงโตห้อย มีเศียรเดียวสองกร พระกรขวาถือผลพีชปูรกะ ส่วนพระหัตถ์ซ้ายถือพังพอนซึ่งคายนานารัตนะออกมา พวงมาลัยทำจากดอกอุตปละซึ่งตรงกับสาธนมาลา อย่างไรก็ตาม ในประติมากรรมมักแสดงการ “เตะ” หม้อเพชรพลอยให้หกกระจาย ซึ่งไม่ปรากฏข้อความดังกล่าวในสาธนมาลา

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี