ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระวิษณุ
คำสำคัญ : พระวิษณุ, จันทิ, จันทิบานน
ชื่อหลัก | จันทิบานน |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ที่อยู่ | พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ |
จังหวัด/เมือง | จาการ์ตา |
รัฐ/แขวง | ชวา ตะวันตก |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : -6.176944 Long : 106.821944 |
ประวัติการสร้าง | - |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระวิษณุองค์นี้ถือเป็นตัวอย่างสำหรับศึกษาเครื่องแต่งกายในศิลปะชวาภาคกลางได้เป็นอย่างดี พระวิษณุทรงกิรีฏมกุฎที่ประดับด้วยตาบจำนวน 5 ตายตามแบบปาละ ทรงอุทรพันธะตามแบบอินเดียใต้ ทรงผ้านุ่งสั้นข้างยาวข้างซึ่งเป็นผ้านุ่งแบบหนึ่งในศิลปะปาละ มีเข็มขัดเพชรพลอยตามแบบปาละแต่มีผ้าคาดวงโค้งตามแบบอินเดียใต้ น่าสังเกตว่าเครื่องแต่งกายในศิลปะชวาภาคกลางนั้นมักเป็นส่วนผสมกันระหว่างศิลปะปาละและอินเดียใต้ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ชวาภาคกลางตอนกลาง |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 13-15 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พระวิษณุทรงเป็นกษัตริย์แห่งจักรวาล ดังนั้นจึงทรงกิรีฏมกุฎ (หมวกทรงกระบอก) อันเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกษัตริย์ตามประติมานวิทยาอินเดีย และทรงครุฑเป็นพาหนะ ครุฑเป็นสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์และแสงสว่าง งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | ประติมากรรมองค์นี้นอกจากจะทรงกิรีฏมกุฎแล้วยังปรากฏครุฑอยู่เบื้องหลังด้วย ทั้งหมดนี้แสดงประติมานวิทยาของพระวิษณุ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |