ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพรหม

คำสำคัญ : พระพรหม

ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ที่อยู่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ
จังหวัด/เมืองจาการ์ตา
รัฐ/แขวงชวา ตะวันตก
ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : -6.176944
Long : 110.821944

ประวัติการสร้าง-
ลักษณะทางศิลปกรรมพระพรหมองค์นี้ถือเป็นตัวอย่างสำหรับศึกษาเครื่องแต่งกายในศิลปะชวาภาคกลางได้เป็นอย่างดี พระพรหมทรงชฎามกุฎที่ประดับด้วยตาบจำนวน 3ตายตามแบบปาละ ทรงอุทรพันธะตามแบบอินเดียใต้ มีเข็มขัดเพชรพลอยตามแบบปาละแต่มีโบหูกระต่ายตามแบบอินเดียใต้ น่าสังเกตว่าเครื่องแต่งกายในศิลปะชวาภาคกลางนั้นมักเป็นส่วนผสมกันระหว่างศิลปะปาละและอินเดียใต้
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง
อายุพุทธศตวรรษที่ 13-15
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพระพรหมทรงเป็นพระผู้สร้างโลกในศาสนาฮินดูแต่ไม่มีนิกายของตนเอง ด้วยเหตุนี้ ประติมากรรมของพระองค์จึงมักเป็นเทพชั้นรองประดับอยู่กับศาสนาสถานทั้งสองนิกาย
งานศิลปะที่เกี่ยวข้องสัญลักษณ์สำคัญของพระองค์ก็คือการมีสี่หน้าซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะสี่ประการในศาสนาฮินดู เช่น พระเวททั้งสี่ หรือยุคซี่งมีสี่ยุค เป็นต้น

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2105-07-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี