ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 145 ถึง 152 จาก 212 รายการ, 27 หน้า
รูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม
ดานัง
ประติมากรรมรูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม

รูปสิงห์จากปราสาทถาปมาม แสดการยกแข้งยกขาตามแบบศิลปะจีน รวมทั้งการมีเคราก็แสดงอิทธิพลจีนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หน้าตาของสิงห์ตัวนี้ยังแสดงให้เห็นอิทธิพลศิลปะขอมแบบบายนที่เข้ามามีบทบาทในศิลปะบิญดิ่นด้วย อนึ่ง เนื่องด้วยการโจมตีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทำให้ประติมากรรมในระยะนี้มีอิทธิพลขอมเข้ามาปะปน

ศิวนาฏราชบนหน้าบันของปราสาทโพกลวงการาย
ฟานรัง
ประติมากรรมศิวนาฏราชบนหน้าบันของปราสาทโพกลวงการาย

แม้ว่าปราสาทโพกลวงการายจะมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 19 แต่หน้าบันรูปพระศิวนาฏราชชิ้นนี้กลับมีอายุเก่ากว่าเล็กน้อย คืออยู่ในศิลปะบิ่ญดิ่น แสดงให้เห็นถึงการนำเอาศิลปกรรมเก่ากลับมาใช้ใหม่ รูปแบบของมงกุฎพระศิวะนั้นสามารถเทียบได้กับมงกุฎในศิลปะบิญดิ่นโดยทั่วไป คือประกอบด้วยตาบเล็กๆ ซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆ ในรูปสามเหลี่ยม ส่วนผ้านุ่งมีการชักชายผ้ารูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นลักษณะประจำของศิลปะบิญดิ่นเช่นกัน

มุขลึงค์ประธานในปราสาทโพกลวงการาย
ญาจาง
ประติมากรรมมุขลึงค์ประธานในปราสาทโพกลวงการาย

พระเศียรของพระศิวะที่มุขลึงค์ประธานของปราสาทโพกลวงการาย มีลักษณะสำคัญตามแบบศิลปะในสมัยหลังโดยทั่วไป กล่าวคือ พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนาม และสวมมงกุฎเป็นทรงกระบอกซึ่งถือเป็นมงกุฎหนึ่งในสองแบบที่นิยมในศิลปะสมัยหลัง มงกุฎอีกแบบหนึ่งที่นิยมในระยะนี้ก็คือแบบกระบังหน้า

ประติมากรรมประธานในปราสาทโพโรเม
ฟานรัง
ประติมากรรมประติมากรรมประธานในปราสาทโพโรเม

ประติมากรรมโพโรเม ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยหลังได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะสำคัญคือประทับนั่งเห็นเพียงครึ่งพระองค์ ด้านล่างจมหายไปกับแผ่นหลัง พระหัตถ์จำนวนมากก็เข้าไปติดยึดกับแผนหลังเช่นกัน พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนามส่วนมงกุฎมักเป็นทรงกระบอก

ประติมากรรมสมัยหลัง
ประติมากรรมประติมากรรมสมัยหลัง

ประติมากรรมชิ้นนี้ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยหลังได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะสำคัญคือประทับนั่งเห็นเพียงครึ่งพระองค์ ด้านล่างนั่งขัดสมาธิแบบจมหายไปกับแผ่นหลัง พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนามและสวมมงกุฎแบบกระบังหน้า

ประติมากรรมสมัยหลัง
โฮจิมินห์
ประติมากรรมประติมากรรมสมัยหลัง

ประติมากรรมชิ้นนี้ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยหลังได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะสำคัญคือประทับนั่งเห็นเพียงครึ่งพระองค์ ด้านล่างนั่งขัดสมาธิแบบจมหายไปกับแผ่นหลัง พระหัตถ์จำนวนมากก็เข้าไปติดยึดกับแผนหลังเช่นกัน พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนามและสวมมงกุฎหมวกทรงกระบอก

ภาพเล่าเรื่องรามายณะที่จันทิปรัมบะนัน
กลาเตน
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องรามายณะที่จันทิปรัมบะนัน

รูปแบบภาพล่าเรื่องที่จันทิปรัมบะนันมีพัฒนาการแล้วจากภาพเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ กล่าวคือ นิยมการถมพื้นที่ว่างจนเต็มไปด้วยลวดลายธรรมชาติ เช่น ภาพภูเขาและต้นไม้ ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้เรียกโดยศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศว่า “การรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่า” ซึ่งแสดงแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออกเข้าไปทุกที แม้ว่าลักษณะบางประการจะใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออก แต่ภาพบุคคลยังคงกลมกลึงมีปริมาตร และหลายครั้งยังคงหันหน้าตรงตามแบบภาพเล่าเรื่องในศิลปะอินเดีย

ภาพเล่าเรื่องพระกฤษณะที่จันทิปรัมบะนัน
กลาเตน
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องพระกฤษณะที่จันทิปรัมบะนัน

รูปแบบภาพล่าเรื่องที่จันทิปรัมบะนันมีพัฒนาการแล้วจากภาพเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ กล่าวคือ นิยมการถมพื้นที่ว่างจนเต็มไปด้วยลวดลายธรรมชาติ เช่น ภาพภูเขาและต้นไม้ ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้เรียกโดยศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศว่า “การรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่า” ซึ่งแสดงแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออกเข้าไปทุกที แม้ว่าลักษณะบางประการจะใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออก แต่ภาพบุคคลยังคงกลมกลึงมีปริมาตร และหลายครั้งยังคงหันหน้าตรงตามแบบภาพเล่าเรื่องในศิลปะอินเดีย