ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาพเล่าเรื่องพระกฤษณะที่จันทิปรัมบะนัน
คำสำคัญ :
ชื่อหลัก | จันทิปรัมบะนัน |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | กลาเตน |
รัฐ/แขวง | ชวา ภาคกลาง |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 7.751944 Long : 110.490833 |
ประวัติการสร้าง | จันทิปรัมบะนัน หรือจันทิโลโลจงกรัง เป็นจันทิในศาสนาฮินดูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย สร้างขึ้นในราชวงศ์สัญชัยซึ่งนับถือศาสนาฮินดูในราวพุทธศตวรรษที่ 15 |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | รูปแบบภาพล่าเรื่องที่จันทิปรัมบะนันมีพัฒนาการแล้วจากภาพเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ กล่าวคือ นิยมการถมพื้นที่ว่างจนเต็มไปด้วยลวดลายธรรมชาติ เช่น ภาพภูเขาและต้นไม้ ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้เรียกโดยศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศว่า “การรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่า” ซึ่งแสดงแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออกเข้าไปทุกที แม้ว่าลักษณะบางประการจะใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออก แต่ภาพบุคคลยังคงกลมกลึงมีปริมาตร และหลายครั้งยังคงหันหน้าตรงตามแบบภาพเล่าเรื่องในศิลปะอินเดีย |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ชวาภาคกลางตอนปลาย |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 15 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ลัทธิ/นิกาย | ไศวนิกาย |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ด้านบนฐานประทักษิณของจันทิประธานทั้งสามของจันทิปรัมบะนัน พบภาพเรื่องในศาสนาอินดูที่พนักระเบียงของลานประทักษิณ ทั้งนี้ เทวาลัยหลังพระศิวะและพระพรหมปรากฏเล่าเรื่องรามายณะ ส่วนเทวาลัยพระวิษณุเล่าเรื่องพระกฤษณะ ภาพเล่าเรื่องเริ่มต้นจากทางซ้ายของประตูด้านทิศตะวันออกแล้ววนขวาไปรอบเทวาลัย |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |