ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมธรรมจักร
ธรรมจักรวงกลมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ดุมอยู่ตรงกลาง ซี่หรือกำ ระหว่างซี่แต่ละซี่เจาะทะลุทำให้ธรรมจักรแลดูโปร่งนอกสุดเป็นกงซึ่งตกแต่งด้วยลายดอกไม้กลมสลับกับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขอบกงมีลวดลายกนกคล้ายเปลวไฟ ส่วนล่างมีแผงสามเหลี่ยมรับน้ำหนักต่อเนื่องไปยังแท่นฐานสี่เหลี่ยมที่รับองค์ธรรมจักรไว้ตามตำแหน่งต่างๆ ของธรรมจักรองค์นี้มีจารึกข้อพระธรรมภาษาบาลี อักษรปัลลวะ เป็นข้อความจากธรรมจักรกัปปวัตรสูตร
ประติมากรรมธรรมจักร
ธรรมจักรวงกลมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ดุมอยู่ตรงกลาง มีรูเจาะทะลุที่เหนือดุม ซี่หรือกำ ระหว่างซี่แต่ละซี่ไม่เจาะทะลุทำให้ธรรมจักรองค์นี้แลดูทึบ นอกสุดเป็นกงซึ่งตกแต่งด้วยลายก้านขด เบื้องล่างสลักรูปบุคคลนั่งขัดสมาธิและถือดอกบัว สันนิษฐานว่าเป็นรูปพระสุริยเทพ
ประติมากรรมธรรมจักร
ธรรมจักรชุดนี้พบว่ามีส่วนประกอบครบทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ เสาแปดเหลี่ยม ฐานสี่เหลี่ยม และธรรมจักร โดยฐานสี่เหลี่ยมทำหน้าที่ยึดตรึงให้ธรรมจักรวางอยู่บนยอดเสาได้โดยไม่ร่วงหล่นธรรมจักรวงกลมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ดุมอยู่ตรงกลาง ซี่หรือกำ ระหว่างซี่แต่ละซี่เจาะทะลุทำให้ธรรมจักรแลดูโปร่ง นอกสุดเป็นกงซึ่งตกแต่งด้วยลายดอกไม้กลมสลับกับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขอบกงมีลวดลายกนกคล้ายเปลวไฟ เบื้องล่างมีแผงสามเหลี่ยมรับน้ำหนัก ทั้งยังมีกลีบบัวรองรับ และมีเดือยยาวเสียบลงไปในแท่นสี่เหลี่ยมฐานสี่เหลี่ยมประดับตกแต่งด้วยลายดอกไม้กลมสลับกับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มุมทั้งสี่ออกแบบลวดลายเลียนแบบมกร มีช่องเจาะทะลุตรงกลางเพื่อรับเดือยของธรรมจักรและของเสา ทำหน้าที่ยึดตรึงเสากับธรรมจักรให้ติดกัน เสาธรรมจักรมีลำตัวอยู่ในผังแปดเหลี่ยม ด้านล่างสุดสลักรูปหงส์และดอกบัวรองรับลำตัวเสา ยอดสาสลักลายพวงมาลัยและอุบะดอกไม้ ถัดขึ้นไปเป็นเดือยที่สอดเข้าไปในฐานสี่เหลี่ยม
ประติมากรรมพระอิศวร
พระอิศวรอยู่ในอิริยาบถยืนตรงบนฐานสี่เหลี่ยม พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นในระดับพระโสณี (สะโพก)พระพักตร์สี่เหลี่ยม เคร่งขรึม พระเนตรประดับมุก มีพระเนตรที่สามวางขวางตามแนวตั้งอยู่กลางพระนลาฏ พระฑาฏิกะ (เครา) ยาว ทรงกระบังหน้าเหนือพระนลาฏ เกล้าพระเกศาเป็นมวยทรงกระบอก ประดับอุณาโลมที่กลางมวยพระเกศา ทรงกุณฑลทรงตุ้มแหลม สุนทรียภาพโดยรวมแสดงถึงแรงบันดาลใจจากประติมากรรมในศาสนาพราหมณ์ในวัฒนธรรมลพบุรีหรือเขมรในประเทศไทยเด่นชัดมาก พระวรกายส่วนบนประดับด้วยกรองศอ พาหุรัดที่ทำเป็นรูปนาค และทรงสังวาลนาค พระวรกายส่วนล่างทรงสมพตสั้น ชักชายผ้าออกมาเป็นวงที่บริเวณพระอุทร ตรงกึ่งกลางมีชายผ้าซ้อนลงมา 3 ชั้นประดับตกแต่งด้วยลายช่อดอกไม้ ส่วนลวดลายของตัวผืนผ้าเป็นเส้นตามแนวตั้งและมีลายที่เชิงผ้า มีเข็มขัดประดับตกแต่งด้วยตุ้งติ้งรัดสมพตนี้ไว้ รูปแบบโดยรวมของสมพตสะท้อนความเกี่ยวข้องกับการนุ่งสมพตในประติมากรรมศิลปะลพบุรีหรือเขมรในประเทศไทยแบบบายน แต่ขณะเดียวกันการประดับตกแต่งด้วยลายช่อดอกไม้ที่คล้ายงานในสมัยอยุธยาตอนกลาง
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์นั่งขัดสมาธิราบบนฐานหน้ากระดานที่มีจารึก พระหัตถ์ขวาชำรุดทราบแต่เพียงยกขึ้นระดับพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายวางเหนือพระเพลา พระเกศายาวเกล้าเป็นมวยดังนักบวช สวมเครื่องทรงต่างๆ อาทิ กรองศอ พาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท
ประติมากรรมพระพุทธรูปปางมารวิชัย
พระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย รองรับด้วยฐานกลีบบัวหงายและชุดฐานบัวยกเก็จ รูปแบบโดยรวมสะท้อนแรงบันดาลใจจากพระพุทธรูปล้านนาแบบสิงห์หนึ่ง ลักษณะเด่นได้แก่ พระพักตร์กลม พระรัศมีรูปดอกบัวตูม พระวรกายอวบอ้วน ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิขนาดเล็กพาดผ่านพระอังสาซ้าย ปลายอยู่เหนือพระถันหยักโค้งไปมา เรียกกันว่าแบบเขี้ยวตะขาบ
ประติมากรรมพระพุทธรูปทรงเครื่อง
พระพุทธรูปขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย รองรับด้วยฐานบัว สวมเครื่องปะดับจำนวนมากนิยมเรียกกันว่าพระทรงเครื่องใหญ่ พระเศียรทรงมงกุฏ ประดับกรรเจียกจร พระกุณฑลทรงตุ้มแหลม พระวรกายประดับด้วยกรองศอ ทับทรวง และสังวาล พระพาหาประดับพาหุรัด และมีกำไลข้อพระกร กำไลข้อพระบาท
ประติมากรรมพระพุทธรูปทรงเครื่อง
พระพุทธรูปยืนตรง พระหัตถ์ยกขึ้นและหันฝ่าพระหัตถ์ออก เรียกว่า ปางประทานอภัย หรือเรียกอีกอย่างว่าปางห้ามสมุทร ครองจีวรห่มคลุม บางแนบพระวรกาย แลเห็นแถบรัดประคด (รัดเอว) และชายสบงที่ทำเป็นแถบหน้านางตกลงมาระหว่างกลางพระชงฆ์พระพักตร์ค่อนข้างกลมตามแบบพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนกลาง สวมกุณฑลทรงตุ้ม สวมมงกุฏที่ประกอบด้วยกระบังหน้าและรัดเกล้าทรงกรวย รูปทรงกระบังหน้าสืบทอดมาจากกระบังหน้าของเทวรูปศิลปะสุโขทัยอันมีต้นแบบมาจากศิลปะเขมร ส่วนรัดเกล้ากรวยทำเหมือนวงแหวนซ้อนชั้น ปรากฏมาก่อนในศิลปะสุโขทัยเช่นกัน โดยรับมาจากศิลปะลังกาอีกทอดหนึ่ง มียอดแหลมขนาดเล็กรอบรัดเกล้ากรวยคติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องโยงกับเรื่องราวที่ปรากฏในชมพูบดีสูตร กล่าวถึงพระพุทธเจ้าแสดงพระองค์เป็นพระจักรพรรดิราชที่ยิ่งใหญ่กว่าท้าวมหาชมพูเพื่อคลายทิฏฐิมานะ จนท้าวมหาชมพูเลื่อมใสแล้วออกบวชปฏิบัติธรรมจนบรรลุเป็นพระอรหันต์