ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูปทรงเครื่อง

คำสำคัญ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, พระพุทธรูปทรงเครื่อง

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลพระบรมมหาราชวัง
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.7576
Long : 100.492222
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 661329.97
N : 1521418.09
ตำแหน่งงานศิลปะภายในห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประวัติการสร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษรระบุถึงประวัติการสร้าง แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมที่เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ซึ่งนิยมมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย จึงเชื่อว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 23

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อสำริด

ประวัติการอนุรักษ์

ย้ายมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร

ขนาดหน้าตักกว้าง 47 เซนติเมตร สูง 98 เซนติเมตร
ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย รองรับด้วยฐานบัว สวมเครื่องปะดับจำนวนมากนิยมเรียกกันว่าพระทรงเครื่องใหญ่ พระเศียรทรงมงกุฏ ประดับกรรเจียกจร พระกุณฑลทรงตุ้มแหลม พระวรกายประดับด้วยกรองศอ ทับทรวง และสังวาล พระพาหาประดับพาหุรัด และมีกำไลข้อพระกร กำไลข้อพระบาท

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

เป็นตัวอย่างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่หล่อสำริดที่สมบูรณ์ที่สุดตัวอย่างหนึ่งในศิลปะอยุธยาตอนปลาย

คติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องโยงกับเรื่องราวที่ปรากฏในชมพูบดีสูตร กล่าวถึงพระพุทธเจ้าแสดงพระองค์เป็นพระจักรพรรดิราชที่ยิ่งใหญ่กว่าท้าวมหาชมพูเพื่อคลายทิฐิมานะ จนท้าวมหาชมพูเลื่อมใสแล้วออกบวชปฏิบัติธรรมจนบรรลุเป็นพระอรหันต์

สมัย/รูปแบบศิลปะอยุธยา, อยุธยาตอนปลาย
อายุพุทธศตวรรษที่ 23
ศาสนาพุทธ
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนา
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

1. พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ประธานของพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

2. พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ภายในเมรุทิศเมรุรายวัดไชยวัฒนาราม

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-30
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.

สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะอยุธยา: งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2550.