ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 8 รายการ, 1 หน้า
พระพุทธรูปนาคปรก
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพุทธรูปนาคปรก

พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทำปางสมาธิ ประทับอยู่บนขนดนาค เบื้องหลังมีพังพานนาคปรกไว้พระพักตร์เหลี่ยม สวมเครื่องทรงมากชิ้น ได้แก่ กุณฑลทรงตุ้มแหลม กระบังหน้าและรัดเกล้ากรวยอันประกอบด้วยชั้นลดหลั่นของแถวกลีบบัว เป็นหนึ่งในลักษณะเด่นของพระพุทธรูปศิลปะเขมรแบบบายน สวมกรองศอ พาหุรัด ทองพระกร แม้ว่าพื้นที่ระหว่างพระกรกับพระวรกายจะเจาะทะลุทำให้เกิดความรู้สึกว่าเปล่าเปลือย อันเป็นลักษณะเด่นของพระพุทธรูปศิลปะลพบุรี ทว่ากลับปรากฏขอบจีวรเฉวียงพระอุระและชายจีวรสี่เหลี่ยมพาดอยู่บนพระอังสาซ้าย ภายในพระหัตถ์ขวามีตลับกลมวางอยู่ ขนดนาครองรับพระพุทธองค์มี 3 ชั้น ชั้นบนมีขนาดใหญ่ที่สุด จากนั้นจึงลดหลั่นขนาดลงตามลำดับ ตกแต่งลวดลายคล้ายเกร็ดงู นาคมี 7 เศียร รูปทรงดังสามเหลี่ยมหรือใบโพธิ์ เศียรกลางใหญ่ที่สุด เศียรด้านข่างทั้งหกมีขนาดเท่ากันโดยหันขึ้นหาเศียรกลาง

พระพุทธรูปนาคปรก
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพุทธรูปนาคปรก

พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบอยู่เหนือขนดนาค พระหัตถ์ทำปางสมาธิ พระพักตร์สี่เหลี่ยม สีพระพักตร์เข้มขรึม พระเนตรเบิกโพรง สวมมงกุฎอันประกอบด้วยกระบังหน้าและรัดเกล้ากรวย สวมกุณฑลทรงตุ้มแหลมพระวรกายช่วงบนเปล่าเปลือยสังเกตได้จากการปรากฏช่องทะลุระหว่างพระปรัศว์ (สีข้าง) กับพระกรทั้งสองข้าง ขณะเดียวกันก็ปรากฏลายเส้นสลักลึกเป็นรอยจีวรแบบห่มเฉียงและสังฆาฏิสี่เหลี่ยมใหญ่ เข้าใจว่าอาจสลักเพิ่มเติมภายหลัง พระวรกายช่วงล่างครองสบง นาคปรกเบื้องหลังพระเศียรอยู่ในโครงคล้ายใบโพธิ์ มี 7 เศียรโดยเศียรกลางมีขนาดใหญ่ที่สุดในขณะที่เศียรด้านข้างข้างละ 3 เศียรมีขนาดเล็กกว่า ทั้งหมดหันหน้าเข้าหาเศียรกลาง ขนาดนาคที่รองรับพระพุทธองค์มี 3 ขนด โดยขนดบนมีความกว้างและหนาที่สุด จากนั้นจึงลดหลั่นขนาดลงมาทำให้เส้นรอบนอกเป็นทรงสอบ

พระพุทธรูปทรงเครื่อง
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพุทธรูปทรงเครื่อง

พระพุทธรูปขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย รองรับด้วยฐานบัว สวมเครื่องปะดับจำนวนมากนิยมเรียกกันว่าพระทรงเครื่องใหญ่ พระเศียรทรงมงกุฏ ประดับกรรเจียกจร พระกุณฑลทรงตุ้มแหลม พระวรกายประดับด้วยกรองศอ ทับทรวง และสังวาล พระพาหาประดับพาหุรัด และมีกำไลข้อพระกร กำไลข้อพระบาท

พระพุทธรูปทรงเครื่อง
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพุทธรูปทรงเครื่อง

พระพุทธรูปยืนตรง พระหัตถ์ยกขึ้นและหันฝ่าพระหัตถ์ออก เรียกว่า ปางประทานอภัย หรือเรียกอีกอย่างว่าปางห้ามสมุทร ครองจีวรห่มคลุม บางแนบพระวรกาย แลเห็นแถบรัดประคด (รัดเอว) และชายสบงที่ทำเป็นแถบหน้านางตกลงมาระหว่างกลางพระชงฆ์พระพักตร์ค่อนข้างกลมตามแบบพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนกลาง สวมกุณฑลทรงตุ้ม สวมมงกุฏที่ประกอบด้วยกระบังหน้าและรัดเกล้าทรงกรวย รูปทรงกระบังหน้าสืบทอดมาจากกระบังหน้าของเทวรูปศิลปะสุโขทัยอันมีต้นแบบมาจากศิลปะเขมร ส่วนรัดเกล้ากรวยทำเหมือนวงแหวนซ้อนชั้น ปรากฏมาก่อนในศิลปะสุโขทัยเช่นกัน โดยรับมาจากศิลปะลังกาอีกทอดหนึ่ง มียอดแหลมขนาดเล็กรอบรัดเกล้ากรวยคติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องโยงกับเรื่องราวที่ปรากฏในชมพูบดีสูตร กล่าวถึงพระพุทธเจ้าแสดงพระองค์เป็นพระจักรพรรดิราชที่ยิ่งใหญ่กว่าท้าวมหาชมพูเพื่อคลายทิฏฐิมานะ จนท้าวมหาชมพูเลื่อมใสแล้วออกบวชปฏิบัติธรรมจนบรรลุเป็นพระอรหันต์

พระพุทธรูปทรงเครื่อง
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพุทธรูปทรงเครื่อง

พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นหันฝ่าพระพระหัตถ์ออกทางด้านหน้า เรียกว่าแสดงปางประทานอภัย หรือปางห้ามสมุทร สวมมงกุฎที่มีแต่กระบังหน้า ไม่มีรัดเกล้ากรวย จึงเห็นพระอุษณีษะและพระรัศมีชัดเจน ทั้งยังไม่ปรากฏเครื่องทรงอื่นใดอีก จึงจัดว่าเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อยพระพุทธรูปครองจีวรห่มคลุม บางแนบพระวรกาย แลเห็นรัดประคด (สายรัดเอว) และสบงที่ทำตรงกลางตกลงมาเป็นแถบหน้านางพุทธลักษณะโดยรวมเป็นแบบอยุธยาตอนกลางที่สัมพันธ์กับพระพุทธรูปหมวดใหญ่ศิลปะสุโขทัย เช่น พระพักตร์วงรูปไข่ พระขนงโค้งโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เล็กสมส่วน กระบังหน้ามีรูปแบบที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์กับเทวรูปในศิลปะสุโขทัยซึ่งมีต้นแบบดั้งเดิมมาจากกระบังหน้าในศิลปะลพบุรีอีกทอดหนึ่ง โดยกระบังหน้าประดับด้วยชั้นลวดลาย กึ่งกลางเป็นลายประจำยาม แนวขอบล่างของกระบังหน้าหยักแหลมลงตรงกลางล้อไปตามความโก่งโค้งของพระขนง และหยักแหลมบริเวณขมับ

พระพุทธมหาจักรพรรดิ
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพุทธมหาจักรพรรดิ

พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย พระวรกายเพรียว พระพักตร์ค่อนข้างกลมกึ่งรูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเรียวเล็ก พระโอษฐ์อ่อนโค้งเล็กน้อยจนเกือบเป็นเส้นตรง พระพักตร์คล้ายหุ่น อันเป็นรูปแบบเฉพาะของพระพุทธรูปในรัชกาลที่ 3 ทรงเครื่องประดับต่างๆ ได้แก่ พระมหามงกุฎ กรองศอ สังวาล พาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท

พระพุทธมหาชนก
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพุทธมหาชนก

พระพุทธรูปประทับนั่งบนฐานชุกชี แสดงปางมารวิชัย ทรงครองจีวรลายดอกห่มเฉียง ประดับด้วยเครื่องทรงอื่นๆจำนวนมาก ได้แก่ มงกุฎยอดชัยหรือยอดแหลมซึ่งมีรูปแบบคล้ายเป็นการจำลองพระมหาพิชัยมงกุฎ โดยประกอบด้วยรัดเกล้า 3 ชั้นประดับดอกไม้ไหว และมีกรรเจียกจร ทรงสวมกรองศอ ทับทรวง พาหุรัด ธำมรงค์ ทองพระกร ทองพระบาท พระพักตร์สงบนิ่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระขนงโค้ง พระโอษฐ์แย้มเล็กน้อยซึ่งเป็นรูปแบบพระพักตร์ของพระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธรูปทรงเครื่องที่อานันทเจดีย์
พุกาม
ประติมากรรมพระพุทธรูปทรงเครื่องที่อานันทเจดีย์

พระพุทธรูปองค์นี้เป็นตัวอย่างของพระพุทะรูปทรงเครื่องที่ดีที่สุดในศิลปะพุกาม แสดงการทรงเทริดขนนกตามแบบอิทธิพลปาละ เทริดประแอบด้วยตาบสามเหลี่ยมจำนวนมากเรียงกัน มีกระบังหน้าที่ประดับด้วยตาบสามเหลี่ยมสามจุด มีกรรเจียกและสร้อยคอโดยทรงทับลงไปบนจีวร จึวรที่ปรากฏจีวรสั้นบนพระอังสาซ้ายเองก็แสดงอิทธิพลปาละ