ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระโพธิสัตว์
คำสำคัญ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, พระโพธิสัตว์
ชื่อหลัก | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | พระบรมมหาราชวัง |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.7576 Long : 100.492222 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661329.97 N : 1521418.09 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ภายในห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
ประวัติการสร้าง | เชื่อว่าน่าจะเป็นประติมากรรมพระโพธิสัตว์ 550 พระชาติที่หล่อขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทั้งนี้ศักราชในพระราชพงศาวดารแต่ละฉบับระบุแตกต่างกันออกไป |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | หล่อสำริด |
ประวัติการอนุรักษ์ | ค้นพบจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระโพธิสัตว์นั่งขัดสมาธิราบบนฐานหน้ากระดานที่มีจารึก พระหัตถ์ขวาชำรุดทราบแต่เพียงยกขึ้นระดับพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายวางเหนือพระเพลา พระเกศายาวเกล้าเป็นมวยดังนักบวช สวมเครื่องทรงต่างๆ อาทิ กรองศอ พาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ประติมากรรมพระโพธิสัตว์พบจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ อาจเป็นรูปที่หล่อขึ้นในรัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตามความในพระราชพงศาวดารว่าให้หล่อรูปพระโพธิสัตว์ 550 ชาติ |
ข้อสังเกตอื่นๆ | พระโพธิสัตว์แปลว่าสัตว์ผู้มุ่งหวังพระโพธิญาณหรือความรู้แจ้ง ตามคติพุทธศาสนาเถรวาทใช้เรียกอดีตชาติของพระสมณโคดมพุทธเจ้า ในพระชาติเหล่านั้นพระองค์ได้เกิดเป็นสิ่งต่างๆ เช่น พรหม เทวดา นาค ครุฑ มนุษย์ สัตว์ ตั้งปณิธานที่จะบำเพ็ญบารมีเพื่อได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | อยุธยาตอนกลาง |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 21 |
ศาสนา | พุทธ |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนา |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | ประติมากรรมที่เชื่อว่าเป็นรูปพระโพธิสัตว์ที่สร้างขึ้นคราวเดียวกัน ค้นพบที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-09-30 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะอยุธยา: งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2550. |