ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 305 ถึง 312 จาก 354 รายการ, 45 หน้า
จิตรกรรมบนหน้าบัน สิมวัดหาดเสี้ยว
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมบนหน้าบัน สิมวัดหาดเสี้ยว

อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่น การวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตก จิตรกรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5

จิตรกรรมเรื่องพระเตมีย์
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องพระเตมีย์

อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่นการวาดภาพปราสาทราชวังและตัวละคร รวมถึง การวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตก จิตรกรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5

จิตรกรรมเรื่องอิเหนา (?)
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องอิเหนา (?)

ศิลปกรรม อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่น การวาดภาพปราสาทราชวังและตัวละคร จิตรกรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ 4-5

จิตรกรรมเรื่องออกมหาภิเนษกรมณ์และมารวิชัย
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องออกมหาภิเนษกรมณ์และมารวิชัย

อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่น การวาดภาพปราสาทราชวังและตัวละคร รวมถึง การวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตก จิตรกรรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5

หน้าบัน สลักภาพพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี
เสียมเรียบ
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี

บานประตูของสิมวัดองค์ตื้อ
เวียงจันทน์
ประติมากรรมบานประตูของสิมวัดองค์ตื้อ

ในรัชกาลสมเด็จเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ได้เกิดสกุลช่างไม้สลักขึ้นในหลวงพระบาง โดยสกุลช่างดังกล่าวนิยมสลักภาพเทวดาทับลงไปบนลายพันธุ์พฤกษาที่เป็นก้านขดอกดอกโบตั๋น ตัวอย่างของภาพสลักในสกุลช่างนี้ยังสามารถเห็นได้อีกที่ประตูของสิมวัดวิชุลเมืองหลวงพระบาง

พระบาง
หลวงพระบาง
ประติมากรรมพระบาง

พระบางมีลักษณะเป็นพระพุทธรูปในศิลปะขอมสมัยหลังบายน คือมีเม็ดพระศกเล็กเป็นหนามขนุน ห่มคลุม แสดงปางประทานอภัยสองพระหัตถ์ ด้านหน้าของสบงมีจีบหน้านางอันแสดงให้เห็นความเกี่ยวข้องกับศิลปะเขมร

พระเจ้าองค์ตื้อ
เวียงจันทน์
ประติมากรรมพระเจ้าองค์ตื้อ

พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาโดยทั่วไป คือ มีพระพักตร์รูปไข่และรัศมีเป็นเปลวตามอิทธิพลของสุโขทัยและล้านนา ห่มเฉียงตามแบบที่นิยมในพระนั่ง แสดงปางมารวิชัยซึ่งนิยมกับพระพุทธรูปนั่งเช่นกัน ด้านล่างปรากฏ “กลีบบัวรวน” ซึ่งเป็นความนิยมในศิลปะล้านช้าง ต้องไม่ลืมพระรัชกาลพระเจ้าไชยเชษฐาเป็นรัชกาลที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับล้านนาและอยุธยาอย่างมาก ด้วยเหตุนี้พระพุทธรูปองค์นี้จึงสะท้อนอิทธิพลทางศิลปกรรมจากดินแดนดังกล่าวด้วย