ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาพเล่าเรื่องตอนประสูติที่อานันทเจดีย์
คำสำคัญ : พุกาม, ประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ, อานันทเจดีย์
ชื่อหลัก | อนันทเจดีย์ |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
จังหวัด/เมือง | พุกาม |
รัฐ/แขวง | มัณฑเลย์ |
ประเทศ | เมียนมา |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 21.165 Long : 94.865278 |
ประวัติการสร้าง | พระเจ้าจันสิตถาโปรดให้สร้างเจดีย์องค์นี้ขึ้น โดยมีตำนานกล่าวว่าพระสงฆ์จากอินเดียได้เล่าถึงถ้ำนันทมูลในภูเขาคันธมาทน์ พระองค์จึงได้สร้างเจดีย์องค์น้เพื่อให้เหมือนกับถ้ำดังกล่าว ส่วนพระพุทธรูปภายในอานันทเจดีย์ก็คงสร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนาเจดีย์ในรัชกาลเดียวกัน |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธรูปองค์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ “ประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ” ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ทางประทักษิณภายในและมณฑปทั้งสี่ทิศ พระพุทธรูปเล่าเรื่องพุทธประวัติที่อานันทเจดีย์ ถือเป็นประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติที่สมบูรณืที่สุดในศิลปะพุกาม |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | พุกาม |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 16-18 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | คัมภีร์ทั้งพุทธศาสนาเถรวาทและมหายานได้กล่าวตรงกันว่าพระนางมหามายาทรงประสูติพระกุมารโดยการ “ยืนคลอด” โดยที่พระนางเหนี่ยวกิ่งไม้คล้ายกับยักษิณีและและคลอดอกจาพระปรัศว์ขวา ไม่ได้คลอดออกมาจากอวัยวะเพศอันมีมลทิน |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | ประติมากรรมนี้เป็นภาพของพระนางมหามายาเหนี่ยวกิ่งไม้ในตอนประสูติ โดยพระนางประทับยืนตรงกลาง มีพระนางปชาบดีโคตรมีช่วยประคองอยู่ด้านข้าง ทางด้านประปรัศว์ขวาปรากฏพระกุมารประทับขัดสมาธิ จากนั้นปรากฏรูปของเทพเจ้าต่างที่เสด็จมารับพระกุมารตามที่ปรากฏในคัมภีร์ ประติมานวิทยาทั้งหมดนี้ปรากฏมาก่อนกับภาพสลักตอนประสูต้ในศิลปะปาละ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |