ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ภาพเล่าเรื่องตอนออกผนวชที่อานันทเจดีย์

คำสำคัญ : พุกาม, ประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ, อานันทเจดีย์

ชื่อหลักอนันทเจดีย์
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
จังหวัด/เมืองพุกาม
รัฐ/แขวงมัณฑเลย์
ประเทศเมียนมา
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 21.165
Long : 94.865278

ประวัติการสร้างพระเจ้าจันสิตถาโปรดให้สร้างเจดีย์องค์นี้ขึ้น โดยมีตำนานกล่าวว่าพระสงฆ์จากอินเดียได้เล่าถึงถ้ำนันทมูลในภูเขาคันธมาทน์ พระองค์จึงได้สร้างเจดีย์องค์น้เพื่อให้เหมือนกับถ้ำดังกล่าว ส่วนพระพุทธรูปภายในอานันทเจดีย์ก็คงสร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนาเจดีย์ในรัชกาลเดียวกัน
ลักษณะทางศิลปกรรมพระพุทธรูปองค์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ “ประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ” ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ทางประทักษิณภายในและมณฑปทั้งสี่ทิศ พระพุทธรูปเล่าเรื่องพุทธประวัติที่อานันทเจดีย์ ถือเป็นประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติที่สมบูรณืที่สุดในศิลปะพุกาม
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะพุกาม
อายุพุทธศตวรรษที่ 16-18
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องคัมภีร์ทั้งพุทธศาสนาเถรวาทและมหายานได้กล่าวตรงกันว่าพระโพธิสัตว์ได้เสด็จออกบวชโดยการขี่ม้าหนีออกมากเมือง โดยมีจตุโลกบาลหรือยักษ์รองเท้าม้าเพื่อไม่ให้เสียงดัง ส่วนนายฉันนะได้ติดตามพระองค์ไปด้วย และเป็นคนกลับมาทูลพระเจ้าสุทโธทนะในภายหลัง
งานศิลปะที่เกี่ยวข้องประติมากรรมนี้เป็นภาพของพระโพธิสัตว์กำลังขี่ม้ากัณฐกะเสด็จออกผนวช ซึ่งปรากฏบริวารโดยรอบ เนจตุโลกบาลที่กำลังรองเท้าม้าและนายฉันนะเกาะหางม้า

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี