ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูปประทับยืนที่ชเวซิกอง

คำสำคัญ : ลังกา, พุกาม, พระเจ้าอโนรธา, พระเจ้าจันสิตถา, เจดีย์ชเวซิกอง

ชื่อหลักเจดีย์ชเวซิกอง
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ที่อยู่ยองอู
จังหวัด/เมืองพุกาม
รัฐ/แขวงมัณฑเลย์
ประเทศเมียนมา
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 21.168333
Long : 94.86

ประวัติการสร้างพระเจ้าอโนรธาโปรดให้สร้างเจดีย์ชเวซิกองเพื่อบรรจุพระเขี้ยวแก้วจำลองจากลังกา เจดีย์องค์นี้มีขนาดใหญ่มากจึงสร้างสำเร็จในรัชกาลพระเจ้าจันสิตถา ส่วนพระพุทธรูปกลุ่มนี้อาจหล่อขึ้นพร้อมหรือหลังจากรัชกาลของพระเจ้าจันสิตถาก็ได้
ลักษณะทางศิลปกรรมพระพุทธรูปลักษณะตามอย่างพระพุทธรูปประทับยืนในศิลปะพุกามโดยทั่วไป กล่าวคือ ครองจีวรห่มคลุม เรียบไม่มีริ้ว มีชายจีวรตงลงมาจากพระหัตถ์ทั้งสองข้างแตกเป็นเขี้ยวตะขาบตามแบบปาละตอนปลาย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางประทานอภัยในพระหัตถ์ขวาและจับชายจีวรในแนวลงในพระหัตถ์ซ้าย อันเป็นระบบอินเดียเหนือที่พระหัตถ์ทั้งสองมักมีแนวพระหัตถ์ตรงกันข้ามกัน
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะพุกาม
อายุพุทธศตวรรษที่ 16-18
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพระพุทธรูปที่เจดีย์ชเวซิกอง ปรากฏทั้งสิ้นสี่องค์ ซึ่งำให้เชื่อว่าหมายถึงพระอดีตพุทธสี่พระองค์ในภัทรกัป คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะและพระโคตมะ โดยประดิษฐานอยู่ ณ ทิศต่างๆของเจดีย์ชเวซิกอง พระพุทธรูปทั้งสี่องค์นี้มีรูปแบบไม่แตกต่างกัน การตีความว่าพระพุทธรูปองค์ใดหมายถึงพระพุทธเจ้าพระองค์ใดนั้นจำเป็นต้องตีความจากทิศที่พระพุทธรูปองค์นั้นๆประดิษฐานอยู่

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-02-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี