ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมพระลักษมีที่สระน้ำเบลาหัน
รูปแบบของเครื่องแต่งกายพระเทวี ประกอบด้วยลวดลายขมวดม้วนและเครื่องเพชรพลอยจำนวนมาก รวมถึงลายกนกที่ประดับแผ่นหลัง ทั้งหมดนี้ล้วนแต่แสดงความเป็น “ชวาตะวันออก”
ประติมากรรมครุฑตกเป็นทาสของนาค
จันทิกิดาล เป็นสถานที่ฝังพระอัฐิของพระเจ้าอนุษบดีแห่งราชวงศ์สิงหาส่าหรี พระเจ้าอนุษบดีสวรรคตใน พ.ศ.1791 เนื่องจากการสวรรคตกับพิธีศราทธ์ที่อุทิศเทวาลัยน้ำต้องห่างกัน 12 ปีเสมอ เทวาลัยหลังนี้จึงควรสร้างเสร็จใน พ.ศ. 1803จันทิแห่งนี้มีภาพเล่าเรื่องพญาครุฑขโมยน้ำอมฤตเพื่อมาช่วยพระมารดา น้ำอมฤตเป็นน้ำแห่งความเป็นอมตะ ด้วยเหตุนี้ จึงสัมพันธ์กับคติเทวาราชา คือช่วยให้ผู้ตายได้รับชีวิตอมตะ
ประติมากรรมครุฑกำลังนำน้ำอมฤต
จันทิกิดาล เป็นสถานที่ฝังพระอัฐิของพระเจ้าอนุษบดีแห่งราชวงศ์สิงหาส่าหรี พระเจ้าอนุษบดีสวรรคตใน พ.ศ.1791 เนื่องจากการสวรรคตกับพิธีศราทธ์ที่อุทิศเทวาลัยน้ำต้องห่างกัน 12 ปีเสมอ เทวาลัยหลังนี้จึงควรสร้างเสร็จใน พ.ศ. 1803 จันทิแห่งนี้มีภาพเล่าเรื่องพญาครุฑขโมยน้ำอมฤตเพื่อมาช่วยพระมารดา น้ำอมฤตเป็นน้ำแห่งความเป็นอมตะ ด้วยเหตุนี้ จึงสัมพันธ์กับคติเทวาราชา คือช่วยให้ผู้ตายได้รับชีวิตอมตะ
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่อง “ปาณฑพเล่นสกากับเการพ”
ภาพเล่าเรื่องในศิลปะชวาภาคตะวันออก ประติมากรรมบุคคลค่อนข้างแบนคล้ายคลึงหนังตะลุงชวา หันข้างเพียงอย่างเดียว ไม่มีการหันหน้าตรง มีการแต่งตัวด้วยศิราภรณ์แบบพื้นเมืองแตกต่างไปจากแบบอินเดีย ที่ว่างโดยรอบถมด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษาและลายเมฆ อาคารเองก็เป็นอาคารเครื่องไม้มุงกรเบื้องตามอย่างอาคารแบบพื้นเมือง ความเป็นพื้นเมืองทั้งหมดนี้แสดงลักษณะเฉพาะของ “ศิลปะชวาภาคตะวันออก”
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่อง “เปลื้องผ้านางเทราปตี”
ภาพเล่าเรื่องในศิลปะชวาภาคตะวันออก ประติมากรรมบุคคลค่อนข้างแบนคล้ายคลึงหนังตะลุงชวา หันข้างเพียงอย่างเดียว ไม่มีการหันหน้าตรง มีการแต่งตัวด้วยศิราภรณ์แบบพื้นเมืองแตกต่างไปจากแบบอินเดีย ที่ว่างโดยรอบถมด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษาและลายเมฆ อาคารเองก็เป็นอาคารเครื่องไม้มุงกรเบื้องตามอย่างอาคารแบบพื้นเมือง ความเป็นพื้นเมืองทั้งหมดนี้แสดงลักษณะเฉพาะของ “ศิลปะชวาภาคตะวันออก”
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่อง “อรชุนบำเพ็ญตบะ”
ภาพเล่าเรื่องในศิลปะชวาภาคตะวันออก ประติมากรรมบุคคลค่อนข้างแบนคล้ายคลึงหนังตะลุงชวา หันข้างเพียงอย่างเดียว ไม่มีการหันหน้าตรง มีการแต่งตัวด้วยศิราภรณ์แบบพื้นเมืองแตกต่างไปจากแบบอินเดีย ที่ว่างโดยรอบถมด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษาและลายเมฆ อาคารเองก็เป็นอาคารเครื่องไม้มุงกรเบื้องตามอย่างอาคารแบบพื้นเมือง ความเป็นพื้นเมืองทั้งหมดนี้แสดงลักษณะเฉพาะของ “ศิลปะชวาภาคตะวันออก”
ประติมากรรมหน้ากาลแบบชวาภาคตะวันออก
หน้ากาลในศิลปะชวาภาคตะวันออกมีความดุร้ายกว่าหน้ากาลชวาภาคกลางมาก มีตาถลนโปน ปากมีเขี้ยวทั้งปากบนและปากล่าง มีเขาและมีกะโหลก รวมถึงมีมือทั้งสองที่ยกขึ้นแสดงท่าขู่ “ดรรชนีมุทรา” อนึ่ง การที่หน้ากาลมีทั้งริมฝีปากบนและริมฝีปากล่างนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า คติแบบอินเดียที่หน้ากาลไม่มีปากล่างได้สูญหายไปแล้ว
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อโมฆบาศ
ประติมากรรมชิ้นนี้มีลักษณะตามอย่างศิลปะขวาภาคตะวันออกโดยทั่วไป กล่าวคือ เครื่องแต่งกายประกอบด้วยสร้อยไข่มุกและพู่ไข่มุกจำนวนมาก ที่แผ่นหลัง ที่แผ่นหลังยังปรากฏดอกบัวและใบบัวจำนวนมากซึ่งเป้นลักษณะเฉพาะของศิลปะในสมัยนี้เช่นกัน