ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 33 ถึง 40 จาก 82 รายการ, 11 หน้า
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่กร
โฮจิมินห์
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่กร

พระโพธิสัตว์องค์นี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะชวาที่เข้ามาอย่างมากในระยะนี้ กล่าวคือทรงกระบังหน้าประดับตาบสามเหลี่ยมสามจุดตามแบบศิลปะปาละ-ชวา นุ่งผ้าโธตียาวที่มีผ้าคาดวงโค้งกว้างตามแบบศิลปะอินเดียใต้-ชวาภาคกลาง อยย่างไรก็ตาม พระพักตร์ของประติมากรรมองค์นี้เริ่มมีพระโอษฐ์หนาและพระเนตรโปนตามแบบพื้นเมืองแล้วยัชโญปวีตในระยะนี้ก็หายไปซึ่งแตกต่างไปจากศิลปะชวา

พระโพธิสัตว์อากาศครรภ์
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อากาศครรภ์

จันทิเมนดุตสร้างขึ้นในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในพุทธศตวรรษที่ 14 สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายาน โดยสร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับบุโรพุทโธที่ตั้งของจันทิเมนดุตก็ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับจันทิปะวนและบุโรพุทโธ

ภาพสลักนิทานปัญจตันตระเรื่อง “นกกระสากับปู”
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมภาพสลักนิทานปัญจตันตระเรื่อง “นกกระสากับปู”

จันทิเมนดุตสร้างขึ้นในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในพุทธศตวรรษที่ 14 สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายาน โดยสร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับบุโรพุทโธที่ตั้งของจันทิเมนดุตก็ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับจันทิปะวนและบุโรพุทโธ

นางหาริตี
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมนางหาริตี

จันทิเมนดุตสร้างขึ้นในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในพุทธศตวรรษที่ 14 สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายาน โดยสร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับบุโรพุทโธที่ตั้งของจันทิเมนดุตก็ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับจันทิปะวนและบุโรพุทโธ

พระพุทธรูปประธานของจันทิเมนดุต
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมพระพุทธรูปประธานของจันทิเมนดุต

พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท มีรูปแบบที่แสดงอิทธิพลจากศิลปะจาลุกยะที่ถ้ำเอลโลร่ากับศิลปะปาละจากอินเดียภาคตะวันออก พระพุทธรูปมีอุณาโลมตามแบบศิลปะปาละแต่กลับห่มเฉียงดังที่ปรากฏกับพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทที่ถ้ำอชันตาและเอลโลร่า พระพุทธองค์แสดงการจับชายจีวรขณะนั่งห้อยพระบาทรวมถึงปรากฏชายจีวรที่ตกลงมาระหว่างพระเพลาทั้งสองข้างซึ่งคล้ายคลึงกับศิลปะที่ถ้ำเอลโลร่า ส่วนบัลลังก์ที่ประดับด้วยมกร วยาลและช้างก็ปรากฏมาก่อนแล้วทั้งที่ถ้ำเอลโลร่าและในศิลปะปาละ

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรภายในจันทิเมนดุต
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรภายในจันทิเมนดุต

ด้านข้างของพระพุทธรูปภายในจันทิเมนดุตปรากฏพระโพธิสัตว์ขนาบสองข้าง คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์หนึ่ง และพระโพธิสัตว์วัชรปาณิอีกองค์หนึ่ง พระโพธิสัตว์ที่จันมิเมนดุตมีเครื่องแต่งกายที่คล้ายคลึงกับศิลปะปาละมาก ทั้งการทรงกระบังหน้าที่มีตาบสามเหลี่ยม 3 จุด รูปแบบชฎามกุฏทรงกระบอกและการสวมวาสตรยัชโญปวีต รวมถึงการนั่งลลิตาสนะบนฐานกลีบบัวและรูปแบบพนักบัลลังก์

ต้นกัลปพฤกษ์ที่จันทิปะวน
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมต้นกัลปพฤกษ์ที่จันทิปะวน

จันทิปะวน ตั้งอยู่ใกล้บุโรพุทโธ สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายานโดยราชวงศ์ไศเลนทร์ผู้นับถือพุทธศาสนามหายาน

พระพุทธเจ้าเสด็จข้ามแม่น้ำเนรัญชรา
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมพระพุทธเจ้าเสด็จข้ามแม่น้ำเนรัญชรา

รูปแบบศิลปะของภาพสลักที่บุโรพุทโธมีความคล้ายคลึงศิลปะอินเดียเป็นอย่างมาก ทั้งรูปแบบเครื่องแต่งกายของประติมากรรม ข้าวของเครื่องใช้ ตัวละครที่กลมกลึงและมีการเว้นพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งหมดนี้แสดงว่าศิลปะชวาภาคกลางมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะอินเดีย