ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรภายในจันทิเมนดุต
คำสำคัญ : จันทิ, ราชวงศ์ไศเลนทร์, บุโรพุทโธ, จันทิเมนดุต
ชื่อหลัก | จันทิเมนดุต |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | ไม่ปรากฏ |
รัฐ/แขวง | ชวา ภาคกลาง |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 7.604722 Long : 110.23 |
ประวัติการสร้าง | จันทิเมนดุตสร้างขึ้นในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในพุทธศตวรรษที่ 14 สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายาน โดยสร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับบุโรพุทโธที่ตั้งของจันทิเมนดุตก็ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับจันทิปะวนและบุโรพุทโธ |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | ด้านข้างของพระพุทธรูปภายในจันทิเมนดุตปรากฏพระโพธิสัตว์ขนาบสองข้าง คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์หนึ่ง และพระโพธิสัตว์วัชรปาณิอีกองค์หนึ่ง พระโพธิสัตว์ที่จันมิเมนดุตมีเครื่องแต่งกายที่คล้ายคลึงกับศิลปะปาละมาก ทั้งการทรงกระบังหน้าที่มีตาบสามเหลี่ยม 3 จุด รูปแบบชฎามกุฏทรงกระบอกและการสวมวาสตรยัชโญปวีต รวมถึงการนั่งลลิตาสนะบนฐานกลีบบัวและรูปแบบพนักบัลลังก์ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ชวาภาคกลางตอนกลาง |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 13-15 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | มหายาน |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ลักษณะทางประติมานวิทยาของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร คือ ปรากฏพระอมิตาภะ (พระธยานิพุทธประจำองค์ แสดงปางสมาธิ) บนมวยผม ส่วนพระหัตถ์ซ้ายเคยถือดอกบัวปัทมะซึ่งหักหายไปแล้ว อนึ่ง การที่พระพุทธเจ้าขนาบข้างด้วยพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรและวัชรปาณินั้น ปรากฏมาก่อนแล้วตั้งแต่ถ้ำอชันตาและเอลโลร่าในอินเดีย ต่อมาได้กลายเป็นที่แพร่หลายในศิลปะชวาภาคกลาง |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |