ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ภาพสลักนิทานปัญจตันตระเรื่อง “นกกระสากับปู”

คำสำคัญ : จันทิ, ราชวงศ์ไศเลนทร์, จันทิปะวน, บุโรพุทโธ, จันทิเมนดุต

ชื่อหลักจันทิเมนดุต
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ที่อยู่-
จังหวัด/เมืองไม่ปรากฏ
รัฐ/แขวงชวา ภาคกลาง
ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 7.604722
Long : 110.23

ประวัติการสร้าง

จันทิเมนดุตสร้างขึ้นในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในพุทธศตวรรษที่ 14 สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายาน โดยสร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับบุโรพุทโธที่ตั้งของจันทิเมนดุตก็ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับจันทิปะวนและบุโรพุทโธ

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง
อายุพุทธศตวรรษที่ 13-15
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายมหายาน
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง

ครั้งหนึ่ง นกกระสาเจ้าเล่ห์ตัวหนึ่ง ต้องการจะกินปลาทั้งหมดในสระน้ำ จึงเข้าไปโกหกปลาในสระน้ำที่กำลังจะแห้งเหือดว่า ตนจะพาปลาทั้งหมดไปยังสระน้ำใหม่ที่กว้างขวางและไม่เหือดแห้ง โดยให้ปลาแต่ละตัวเข้าไปอยู่ในจะงอยปากของตน ปลาทุกตัวหลงเชื่อ ด้วยเหตุนี้จึงถูกนกกระสาเจ้าเล่ห์จับกินจนหมด ต่อมา ปูซึ่งเหลืออยู่ตัวสุดท้ายสงสัย จึงขอหนีบ "คอ" นกกระสาไปแทน ท้ายสุดเห็นเพื่อนๆของตนถูกกินกลายเป็นก้างปลาหมดแล้ว เลยจัดการหนีบคอนกกระสาจนตาย

งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

ภาพเล่าเรื่องปัญจตันตระนี้ ปรากฏอยู่ที่ฐานด้านล่าง โดยสลักแทนกอยู่ในท้องไม้ซึ่งตกแต่งด้วยลายพันธุ์พฤกษา นิทานปัญจตันตระเป็นนิทานสอนใจของอินเดียซึ่งใช้สัตว์เป็นตัวละครนำ

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-01
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี