ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 129 ถึง 136 จาก 212 รายการ, 27 หน้า
ถ้ำที่กัวคชะ
เบดูลู
สถาปัตยกรรมถ้ำที่กัวคชะ

ที่กัวคชะปรากฏถ้ำที่ขุดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะอินโดนีเซีย ด้านหน้าถ้ำสลักเป็นรูปหน้ากาลหน้าตาดุร้ายที่มีตาถลนตามแบบศิลปะชวาภาคตะวันออก-บาหลี หน้ากาลนี้คงมีความหมายในการขับไล่สิ่งชั่วร้าย โดยรอบมีภาพสลักเป็นฉากโขดหินธรรมชาติที่มีสัตว์ป่าอยู่เต็ม ภายในถ้ำดังกล่าวเป็นทางแคบๆในผังรูปตัวที มีแท่นที่นั่งซึ่งคงเป็นที่อยู่ของนักบวชมากกว่า

น้ำพุที่กัวคชะ
เบดูลู
สถาปัตยกรรมน้ำพุที่กัวคชะ

น้ำพุปรากฏมาแล้วตั้งแต่ศิลปะชวาตะวันออก โดยเริ่มจากความคิดเรื่องน้ำจากภูเขาศักดิ์สิทธิ์ซึ่งย่อมประทานความอุดมสมบูรณ์และการล้างบาปให้แก่ผู้ศรัทธา สำหรับที่กัวคชะนี้เป็นน้ำพุที่ปรากฏคู่กันสองบ่อ ซึ่งอาจใช้ในการแยกผู้อาบน้ำชาย-หญิง (?) แต่ละบ่อปรากฏรูปเทพีถือหม้อน้ำและมีน้ำพุไหลออกมา ซึ่งทั้งหม้อน้ำและเทพีก็ล้วนแต่หมายถึงความอุดมสมบูรณ์

กุหนุงกาวี
เกียญาร์
สถาปัตยกรรมกุหนุงกาวี

จันทิกุหนุงกาวี มีลักษณะเป็นหน้าผาริมแม่น้ำ โดยมีการสลักจันทิติดผนังจำนวน 9 หลัง ถือเป็นตัวอย่างจันทิสลักหินติดกับเพิงผาธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในเกาะบาหลี นอกจากนี้ยังถือเป็นตัวอย่างจันทิในศิลปะชวาภาคตะวันออกที่ปรากฏในเกาะบาหลีอีกด้วย เนื่องจากชั้นหลังคาประดับไปด้วยสถูปิกะ/อาคารจำลองซึ่งไม่ปรากฏแล้วในศิลปะบาหลี อนึ่ง ที่ตั้งของกลุ่มจันทิดังกล่าว ย่อมทำให้แม่น้ำที่ไหลผ่านศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย

หน้าบันรูปวิษณุอนันตศายินจากปราสาทมิเซิน E
ดานัง
ประติมากรรมหน้าบันรูปวิษณุอนันตศายินจากปราสาทมิเซิน E

ซุ้มของปราสาทมิเซินกลุ่ม E นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน กึ่งกลางปรากฏภาพเล่าเรื่องตอนวิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ หรือพระวิษณุบรรทมกลางเกษียรสมุทรและมีพระพรหมผุดขึ้นมาจากพระนาภี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู

พระวิษณุทรงครุฑ
ประติมากรรมพระวิษณุทรงครุฑ

พระวิษณุทรงครุฑองค์นี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะชวาที่เข้ามาปะปนกับศิลปะพื้นเมืองหัวล่าย โดยกระบังหน้าประดับตาบสามเหลี่ยมสามจุดตามแบบศิลปะปาละ-ชวา แต่พระพักตร์ของประติมากรรมองค์นี้เริ่มมีพระโอษฐ์หนา พระเนตรโปนและมีพระมัสสุตามแบบพื้นเมือง ครุฑที่มีจะงอยปากนกและมีปีกเป็นกนกเองก็เป็นลักษณะพื้นเมืองเช่นกัน

ครอบมุขลึงค์
ประติมากรรมครอบมุขลึงค์

มุขลึงค์นี้แสดงให้เห็นศิลปะพื้นเมืองดงเดืองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะพระพักตร์ของประติมากรรมองค์นี้ที่มีพระโอษฐ์หนา พระนาสิกใหญ่พระเนตรโปน พระขนงต่อกันเป็นปีกกาและมีพระมัสสุตามแบบพื้นเมืองพระพักตร์แบบพื้นเมืองนี้แตกต่างอย่างมากไปจากพระพักตร์แบบอินเดียชวา-ซึ่งปรากฏมาก่อนในศิลปะมิเซิน E1 และจะปรากฏอีกในศิลปะมิเซิน A1 บางครั้ง ศิวลึงค์ที่ทำด้วยวัสดุปกติก็อาจถูกครีอบด้วย “ครอบโลหะมีค่า” ซึ่งทำให้ศิวลึงค์นั้นๆดูศักดิ์สิทธิ์ขึ้น ครองโลหะนั้นอาจหล่อด้ยทอดแดง เงินหรือทองคำก็ได้

พระวิษณุทรงครุฑ
ญาจาง
ประติมากรรมพระวิษณุทรงครุฑ

พระวิษณุทรงครุฑองค์นี้แสดงให้เห็นศิลปะพื้นเมืองดงเดืองอย่างชัดเจน โดยปรากฏกระบังหน้าประดับตาบสามเหลี่ยมสามจุดตามแบบศิลปะปาละ-ชวา แต่ตาบเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่ตามแบบดงเดือง พระพักตร์ของประติมากรรมองค์นี้มีพระโอษฐ์หนา พระเนตรโปนและมีพระมัสสุตามแบบพื้นเมือง ครุฑที่มีจะงอยปากนกและสวมมงกุฎสามตาบก็เป็นลักษณะดงเดืองเช่นกัน

ฐานรูปนางอัปสรเต้นรำและนักดนตรี
ดานัง
ประติมากรรมฐานรูปนางอัปสรเต้นรำและนักดนตรี

เนื่องด้วยอิทธิพลแบบอินเดียชวาได้เข้ามามีบทบาทอีกครั้งหนึ่งในศิลปะมิเซิน A1 ด้วยเหตุนี้ ประติมากรรมบุคคลในศิลปะมิเซิน A1 จึงมีลักษณะอ่อนช้อย พระพักตร์มีพระเนตรไม่โปน ไม่มีพระมัสสุ พระโอษฐ์บางตามแบบอินเดียชวา การทรงผ้าคาดวงโค้งเองก็เป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะอินเดียและชวามาก่อน