ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 81 ถึง 88 จาก 103 รายการ, 13 หน้า
พระพุทธรูป
ประติมากรรมพระพุทธรูป

พระพุทธรูปประทับยืน ทำอภัยมุทรา อุษณีษะเป็นมวยผม ขมวดพระเกษาวนเป็นก้นหอยไม่มีอุณาโลม พระเนตรเหลือบต่ำ ครองจีวรห่มคลุม ผ้าบางแบบเปียกน้ำ แนบพระวรกาย ไม่มีริ้วจีวร ตามรูปแบบศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ สกุลช่างสารนาถ พระกรขวายกขึ้นทำวิตรรกะมุทรา กรซ้ายหักหายไป สันนิษฐานว่าจับชายจีวรลงตามแบบศิลปะคุปตะ ประทับยืนแบบสมภังค์(ยืนตรง)

พระเศียรของพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมพระเศียรของพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง

พระเศียรของพระพุทธรูปองค์นี้แสดงให้เห็นศิลปะพื้นเมืองดงเดืองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะพระพักตร์ของประติมากรรมองค์นี้ที่มีพระโอษฐ์หนา พระนาสิกใหญ่พระเนตรโปน พระขนงต่อกันเป็นปีกกาและพระเกศาขมวดเป็นปอยตามแบบพื้นเมือง น่าสังเกตว่าด้านบนสุดปรากฏอุษณีษะซึ่งได้กลายเป็นรูปดอกบัวอันแสดงให้เห็นความเป็นพื้นเมืองอย่างมาก

พระพุทธรูปประธานของจันทิเมนดุต
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมพระพุทธรูปประธานของจันทิเมนดุต

พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท มีรูปแบบที่แสดงอิทธิพลจากศิลปะจาลุกยะที่ถ้ำเอลโลร่ากับศิลปะปาละจากอินเดียภาคตะวันออก พระพุทธรูปมีอุณาโลมตามแบบศิลปะปาละแต่กลับห่มเฉียงดังที่ปรากฏกับพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทที่ถ้ำอชันตาและเอลโลร่า พระพุทธองค์แสดงการจับชายจีวรขณะนั่งห้อยพระบาทรวมถึงปรากฏชายจีวรที่ตกลงมาระหว่างพระเพลาทั้งสองข้างซึ่งคล้ายคลึงกับศิลปะที่ถ้ำเอลโลร่า ส่วนบัลลังก์ที่ประดับด้วยมกร วยาลและช้างก็ปรากฏมาก่อนแล้วทั้งที่ถ้ำเอลโลร่าและในศิลปะปาละ

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรภายในจันทิเมนดุต
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรภายในจันทิเมนดุต

ด้านข้างของพระพุทธรูปภายในจันทิเมนดุตปรากฏพระโพธิสัตว์ขนาบสองข้าง คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์หนึ่ง และพระโพธิสัตว์วัชรปาณิอีกองค์หนึ่ง พระโพธิสัตว์ที่จันมิเมนดุตมีเครื่องแต่งกายที่คล้ายคลึงกับศิลปะปาละมาก ทั้งการทรงกระบังหน้าที่มีตาบสามเหลี่ยม 3 จุด รูปแบบชฎามกุฏทรงกระบอกและการสวมวาสตรยัชโญปวีต รวมถึงการนั่งลลิตาสนะบนฐานกลีบบัวและรูปแบบพนักบัลลังก์

พระพุทธรูป
จาการ์ตา
พระพุทธรูป

ในศิลปะชวาภาคกลางพระพุทธรูปมีรูปแบบที่ค่อนข้างหลากหลาย โยพระพุทธรูปองค์นี้แสดงให้เห็นการครองจีวรห่มคลุมและจีวรเรียบไม่มีริ้วตามแบบศิลปะคุปตะสกุลช่างสารนาถ อย่างไรก็ตาม พระพุทธรูปกลับยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นขนานกัน แม้ว่าพระหัตถ์ทั้งสองจะหักไปหมดแล้วแต่กลับทำให้นึกถึงการแสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ซึ่งปรากฏเช่นกันในศิลปะทวารวดีและศิลปะขอมก่อนเมืองพระนคร

พระพุทธรูปที่ถ้ำช้าง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมพระพุทธรูปที่ถ้ำช้าง

พระพุทธรูปในศิลปะทวารวดีภาคอีสาน มีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น การที่พระพักตร์มีลักษณะแบบพื้นบ้าน เม็ดพระศกเล็กและวมขึ้นอันแสดงอิทธิพลขอมที่เข้ามาปะปน พระหัตถ์แสดงปางวิตรรกมุทราซึ่งเป็นมุทราที่โดดเด่นในศิลปะทวารวดี พระเพลาขัดสมาธิราบแบบหลวมๆและเห็นฝ่าพระบาทจากด้านบนซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะในสมัยนี้เช่นกัน

ฐานของพระพุทธรูปสำริด
เวียงจันทน์
ประติมากรรมฐานของพระพุทธรูปสำริด

ในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมักมีฐานที่สูงและมีลวดบัวที่ซับซ้อน โดยฐานมักหล่อเป็นสำริดเช่นเดียวกับ ฐานมักประกอบด้วยฐานสิงห์ซึ่งมีกาบเท้าสิงห์ประกอบไปด้วยวงโค้งต่อเนื่องกันคล้ายศิลปะอยุธยาตอนกลาง ถัดขึ้นมาได้แก่บังคว่ำและท้องไม้ซึ่งคาดลูกแก้วอกไก่ ถัดขึ้นไปคือบัวหงายประกบบัวคว่ำอันเป็นการลดความแข้งกระด้างของหน้ากระดานบนและทำให้ฐานสามารถแสดงการ “งอน” ได้ตามต้องการ การงอนนี้ถือเป็นสุนทรียภาพสำคัญของลวดบัวในศิลปะล้านช้าง

พระพุทธรูปสำริด
เวียงจันทน์
ประติมากรรมพระพุทธรูปสำริด

ในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น การที่พระพักตร์มีลักษณะแบบพื้นบ้าน เม็ดพระศกเล็กและมีไรพระศก พระเศียรโตแต่พระอังสาแคบ พระวรกายผอมสูง จีวรเรียบไม่มีริ้ว มีชายผ้าหน้างด้านหน้าตามแบบอิทธิพลอยุธยา แต่ชายจีวรมีการกระดกขึ้นซึ่งลักษณะหลังถือเป็นลักษณะเฉพาะของล้านช้าง