ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จิตรกรรมพุทธประวัติตอนสัตตมหาสถาน
จิตรกรรมที่นี่ดูเหมือนว่าจะเป็นลายเส้นบนพื้นสีครีม พระพุทธองค์ทรงมีชาวจีวรสองชั้นพาดพระอังสาซ้าย คือ ชายจีวรสั้นกับชายจีวรยาว ซึ่งถือเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะสมัยหลังพุกาม
จิตรกรรมอดีตพุทธและพุทธประวัติตอนมหาภิเนษกรมณ์
จิตรกรรมในสมัยคองบองตอนต้นมีลักษณะคล้ายศิลปะสมัยนยองยาน มีลักษณะเด่นคือใช้สีโทนร้อนแต่มีสีเขียวที่แทรกเข้าไปในภาพ ไม่มีทัศนียวิทยา ภาพวาดมีการตัดเส้นอย่างง่ายๆ รูปทรงง่ายๆเหมือนการวาดการ์ตูนในปัจจุบัน แต่ละภาพมักคั่นไปด้วยเส้นสินเทาที่เป็นวงโค้งต่อเนื่องกัน ภาพรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่าทำให้ต้องถมลายพันธุ์พฤกษาเข้าไปในพื้นที่ว่าง บางครั้งมักวาดภาพะเป็นแถบยาวๆคล้ายภาพบนใบลานอย่างไรก็ตาม การปรากฏอิทธิพลมงกุฎสูงแบบไทย ทำให้ทราบด่าจิตรกรรมที่นี่น่าจะเขียนขึ้นหลังจากการตีกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองแล้ว
จิตรกรรมอดีตพุทธและพุทธประวัติตอนมหาภิเนษกรมณ์
จิตรกรรมในสมัยคองบองตอนต้นมีลักษณะคล้ายศิลปะสมัยนยองยาน มีลักษณะเด่นคือใช้สีโทนร้อนแต่มีสีเขียวที่แทรกเข้าไปในภาพ ไม่มีทัศนียวิทยา ภาพวาดมีการตัดเส้นอย่างง่ายๆ รูปทรงง่ายๆเหมือนการวาดการ์ตูนในปัจจุบัน แต่ละภาพมักคั่นไปด้วยเส้นสินเทาที่เป็นวงโค้งต่อเนื่องกัน ภาพรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่าทำให้ต้องถมลายพันธุ์พฤกษาเข้าไปในพื้นที่ว่าง บางครั้งมักวาดภาพะเป็นแถบยาวๆคล้ายภาพบนใบลานอย่างไรก็ตาม การปรากฏอิทธิพลมงกุฎสูงแบบไทย ทำให้ทราบด่าจิตรกรรมที่นี่น่าจะเขียนขึ้นหลังจากการตีกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองแล้ว
ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับยืนที่ชเวซิกอง
พระพุทธรูปลักษณะตามอย่างพระพุทธรูปประทับยืนในศิลปะพุกามโดยทั่วไป กล่าวคือ ครองจีวรห่มคลุม เรียบไม่มีริ้ว มีชายจีวรตงลงมาจากพระหัตถ์ทั้งสองข้างแตกเป็นเขี้ยวตะขาบตามแบบปาละตอนปลาย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางประทานอภัยในพระหัตถ์ขวาและจับชายจีวรในแนวลงในพระหัตถ์ซ้าย อันเป็นระบบอินเดียเหนือที่พระหัตถ์ทั้งสองมักมีแนวพระหัตถ์ตรงกันข้ามกัน
ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับยืนที่อานันทเจดีย์
พระพุทธรูปลักษณะตามอย่างพระพุทธรูปประทับยืนในศิลปะพุกามโดยทั่วไป กล่าวคือ ครองจีวรห่มคลุม เรียบไม่มีริ้ว มีชายจีวรตงลงมาจากพระหัตถ์ทั้งสองข้างแตกเป็นเขี้ยวตะขาบตามแบบปาละตอนปลาย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางปฐมเทศนา ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะในศิลปะพุกามที่นำปางปฐมเทศนามาใช้กับพระพุทธรูปประทับยืน
ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับนั่งที่อานันทเจดีย์
พระพุทธรูปลักษณะตามอย่างพระพุทธรูปประทับนั่งในศิลปะพุกามโดยทั่วไป กล่าวคือ ครองจีวรห่มเฉียงเสมอ เรียบไม่มีริ้ว มีชายจีวรตงลงมาจากพระอังสาซ้ายปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบตามแบบปาละ พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัยอันเป็นมุทราที่ได้รับความนิยมสูงสุดมาก่อนในศิลปะปาละ ประทับนั่งบนฐานกลีบบัวคว่ำบัวหงายซึ่งได้รับอิทธิพลปาละเช่นกัน
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องตอนประสูติที่อานันทเจดีย์
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ “ประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ” ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ทางประทักษิณภายในและมณฑปทั้งสี่ทิศ พระพุทธรูปเล่าเรื่องพุทธประวัติที่อานันทเจดีย์ ถือเป็นประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติที่สมบูรณืที่สุดในศิลปะพุกาม
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องตอนออกผนวชที่อานันทเจดีย์
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ “ประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ” ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ทางประทักษิณภายในและมณฑปทั้งสี่ทิศ พระพุทธรูปเล่าเรื่องพุทธประวัติที่อานันทเจดีย์ ถือเป็นประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติที่สมบูรณืที่สุดในศิลปะพุกาม