ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อดีตพุทธและพุทธประวัติตอนมหาภิเนษกรมณ์
คำสำคัญ : พระพุทธเจ้า, พุทธประวัติ, สิม, พระเจ้านรปติสิทธุ, อุบาลีเถียน
ชื่อหลัก | อุบาลีเถียน |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | จิตรกรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | พุกาม |
รัฐ/แขวง | มัณฑเลย์ |
ประเทศ | เมียนมา |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 21.179444 Long : 94.876111 |
ประวัติการสร้าง | “เถียน” หรือ “สิม” คืออุโบสถหรืออาคารสำหรับบวชพระ มักมีขนาดเล็กสำหรับพระภิกษุผู้ประกอบพิธีกรรมซึงจำนวนไม่ มากนัก เป็นอาคารก่ออิฐ |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | จิตรกรรมในสมัยคองบองตอนต้นมีลักษณะคล้ายศิลปะสมัยนยองยาน มีลักษณะเด่นคือใช้สีโทนร้อนแต่มีสีเขียวที่แทรกเข้าไปในภาพ ไม่มีทัศนียวิทยา ภาพวาดมีการตัดเส้นอย่างง่ายๆ รูปทรงง่ายๆเหมือนการวาดการ์ตูนในปัจจุบัน แต่ละภาพมักคั่นไปด้วยเส้นสินเทาที่เป็นวงโค้งต่อเนื่องกัน ภาพรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่าทำให้ต้องถมลายพันธุ์พฤกษาเข้าไปในพื้นที่ว่าง บางครั้งมักวาดภาพะเป็นแถบยาวๆคล้ายภาพบนใบลานอย่างไรก็ตาม การปรากฏอิทธิพลมงกุฎสูงแบบไทย ทำให้ทราบด่าจิตรกรรมที่นี่น่าจะเขียนขึ้นหลังจากการตีกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองแล้ว |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | คองบอง |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 22-23 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | อดีตพุทธ ถือเป็นความเชื่อโดยปกติทีปรากฏทั้งพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน โดยเชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงมีมาแล้วนับไม่ถ้วนและแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนามีมาแล้วก่อนกาลเวลา พระพุทธเจ้าในอดีตแต่ละพระองค์ย่อมมีพุทธประวัติเป็นของตนเอง เช่นตอนเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์เป็นต้น โดยมีรายละเอียดของแต่ละพระองค์ต่างกันเล็กน้อย |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | ภาพที่เห็นเป็นภาพการเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ของพระอดีตพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แสดงเป็นพระองค์ทรงช้าง ด้านหน้ามีจตุโลกบาลแห่แหนและจุดคบไฟเพ่อส่องสว่างในเวลากลางคน ด้านหน้ามีพญามารมาห้าม |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |