ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 32 รายการ, 4 หน้า
พระบฏวัดดอกเงิน
กรุงเทพมหานคร
จิตรกรรมพระบฏวัดดอกเงิน

พระบฏผืนนี้เขียนเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่เมืองสังกัสสะ สีที่ใช้มีหลายสี เช่น สีเขียว สีน้ำเงิน สีแดง สีขาว สีดินเหลืองและสีดำ ปิดทองเฉพาะองค์พระพุทธเจ้า ภาพแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ช่วงบนสุดเป็นภาพสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แสดงภาพเทวดาประคองอัญชลี มีต้นปาริชาติ เจดีย์จุฬามณี และวิมาน 2 หลังคือเวชยันต์ปราสาทและสุธรรมเทวสภา ชั้นที่สองเป็นภาพพระพุทธเจ้าขนาดใหญ่อิริยาบถลีลาลงจากบันไดแก้ว มีพระอาทิตย์และพระจันทร์ขนาบสองข้างพระเศียร ด้านซ้ายแสดงภาพเทวดาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เสด็จลงบันไดเงิน ด้านขวาแสดงภาพพรหมเสด็จลงบันไดทอง ขอบทั้งสองด้านแสดงภาพเทวดาชั้นรองถือเครื่องสักการะเหาะตามมา ชั้นที่สามแสดงภาพเมืองสังกัสสะ ฝั่งขวาคือแถวพระสงฆ์ ฝั่งซ้ายคือกลุ่มกษัตริย์ยืนรอรับเสด็จ และยังมีภาพบุคคลอื่นๆ เช่น พราหมณ์ ขุนนางประคองอัญชลีและมีภาพปราสาท ด้านล่างสุดเป็นภาพน้ำ มีมนุษยนาคประคองอัญชลี ฉากหลังเป็นดอกมณฑารพ มีจารึกอักษรฝักขามตามตำแหน่งต่างๆ

จิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติและเทพชุมนุม
กรุงเทพมหานคร
จิตรกรรมจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติและเทพชุมนุม

จิตรกรรมฝาผนังที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์มีรูปแบบเป็นงานจิตรกรรมไทยประเพณี เขียนภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติที่ผนังระหว่างช่องหน้าต่างส่วนผนังเหนือช่องหน้าต่างเขียนภาพเทพชุมนุมโดยเหล่าเทพเทวดาแต่งกายยืนเครื่องอยู่ในท่านั่งเรียงเป็นแถว ต่างพนมมือเพื่อกราบนมัสการพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งมีภาพพระเจดีย์ที่ผนังท้ายพระที่นั่งส่วนผนังด้านหน้าพระพุทธสิหิงค์ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประธาน เขียนภาพเทวดาชั้นพรหมประทับนั่งเรียงแถวพนมมือเพื่อกราบนมัสการพระทุสสะเจดีย์ซึ่งอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตเทคนิคการเขียนภาพยังคงเป็นแบบไทยประเพณีที่นิยมในสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น กล่าวคือ ใช้เทคนิคการระบายสีแล้วตัดเส้น ภาพบุคคลสำคัญแสดงออกผ่านกิริยาที่เป็นนาฏลักษณ์ ใช้เส้นสินเทาแบ่งเรื่องราวตอนต่างๆ มีการปิดทองคำเปลวในส่วนสำคัญของภาพ เป็นต้น

ใบเสมา
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมใบเสมา

ใบเสมาแบบแผ่นแบน ชำรุดเสียหายมาก แต่ยังเห็นภาพสลักเรื่องได้ชัดเจน พระพุทธองค์ยืน พระหัตถ์ทำปางแสดงธรรมทั้ง 2 ข้าง พระพักตร์เหลี่ยม พระเนตรเหลือบต่ำและโปนใหญ่ พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์แบะกว้างพระพุทธองค์ครองจีวรห่มคลุม ชายจีวรด้านหน้าพาดผ่านพระชานุเป็นรูปโค้ง ขณะที่ชายจีวรด้านหลังตกลงมาเป็นกรอบสี่เหลี่ยมยาวจนถึงข้อพระบาท สบงยาวจรดข้อพระบาทเช่นกันเบื้องซ้ายของพระองค์มีภาพบุคคลขนาดเล็กสวมเครื่องทรงดังเทวดายืนเคียงข้าง ถัดขึ้นไปมีเทวดาประนมกรแทรกกายอยู่หลังเมฆ จากภาพถ่ายเก่าทำให้เห็นว่าภาพทางเบื้องขวาของพระองค์มีการจัดวางองค์ประกอบแบบนี้เช่นกัน แต่ปัจจุบันได้ชำรุดสูญหายแล้ว ไม่ทราบว่าเป็นพุทธประวัติตอนใด แต่นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าเล่าพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะมีเทวดาขนาบอยู่ 2 ข้าง

ใบเสมา
ขอนแก่น
ประติมากรรมใบเสมา

ใบเสมาแผ่นแบน ยอดแหลม สลักลายกลีบบัวที่ด้านล่าง ด้านหน้าเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนเสวยวิมุตติสุขสัปดาห์ที่ 6 หรือตอนาคปรก ส่วนบนสลักภาพพระพุทธเจ้านั่งขัดสมาธิแบบหลวมอยู่เหนือขนดนาคที่ซ้อนกัน 4 ชั้น พระหัตถ์ทำปางแสดงธรรม เหนือพระเศียรมีหัวนาค 5 หัวปรกอยู่ เบื้องหลังเป็นต้นไม้ซึ่งคงหมายถึงต้นมุจลินท์หรือต้นจิก เบื้องล่างทางด้านซ้ายของพระองค์ปรากฏภาพบุคคลสวมเครื่องทรงมากนั่งทำท่านอบน้อม อาจหมายถึงพระยานาคมุจลินท์ที่แปลงกายเป็นมนุษย์มาเฝ้าพระองค์ อีกบุคคลหนึ่งทางด้านขวาของพระองค์ทำท่าประนมกร คงหมายถึงผู้ติดตาม

จิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ
กรุงเทพมหานคร
จิตรกรรมจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ

ผนังด้านหลังพระพุทธรูปประธานเขียนภาพพระพุทธเจ้าแสดงปางมารวิชัยอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วทรงกลีบบัวล้อมรอบด้วยพระสาวก พรหม และประชาชน ขนาบข้างด้วยพระพุทธรูปทรงเครื่องและพระพุทธรูปลีลาผนังด้านขวามือของพระพุทธรูปประธานเป็นพระพุทธเจ้าปางประสูติ ด้านบนเขียนภาพสันดุสิตเทพบุตร ผนังด้านหน้าเขียนภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ผนังระหว่างหน้าต่างเขียนภาพเทพชุมนุม เหนือช่องหน้าต่างมีพระอดีตพุทธเจ้านั่งเรียงแถวกันใต้ลายพวงมาลัยและพวงอุบะ แม้การแสดงออกของฉากและตัวบุคคล เช่น หนุมาน ยักษ์ สัตว์หิมพานต์จะคงลักษณะตามแบบไทยประเพณี แต่ก็มีการแทรกรูปสัตว์และรูปบุคคลที่มีอิริยาบถ เครื่องแต่งกาย รวมถึงการจัดวางภาพตามแบบแผนสมัยปัจจุบันเข้าไปผสมผสาน

ภาพชาดกดินเผา เรื่องพระมหาชนก
พุกาม
ประติมากรรมภาพชาดกดินเผา เรื่องพระมหาชนก

เจดีย์เป็นเล็กเป็นเจดีย์ทรงระฆังสมัยพุกามตอนต้น ได้รับอิทธิพลปาละ ที่ส่วนฐานปรากฏระเบียงซึ่งบรรจุภาพดินเผาเล่าเรื่องชาดกจำนวน 550 พระชาติ ภาพชาดกดังกล่าวทำจากดินเผาที่ยังไม่ได้เคลือบเขียวซึ่งแตกต่างไปจากเจดีย์ชเวซิกอง แสดงให้เห็นวาภาพชาดกนี้อาจอยู่ในสมัยก่อนพุกามหรือพุกามตอนต้นระยะแรก

ภาพชาดกดินเผา เรื่องสุวรรณสาม
พุกาม
ประติมากรรมภาพชาดกดินเผา เรื่องสุวรรณสาม

เจดีย์เป็นเล็กเป็นเจดีย์ทรงระฆังสมัยพุกามตอนต้น ได้รับอิทธิพลปาละ ที่ส่วนฐานปรากฏระเบียงซึ่งบรรจุภาพดินเผาเล่าเรื่องชาดกจำนวน 550 พระชาติ ภาพชาดกดังกล่าวทำจากดินเผาที่ยังไม่ได้เคลือบเขียวซึ่งแตกต่างไปจากเจดีย์ชเวซิกอง แสดงให้เห็นวาภาพชาดกนี้อาจอยู่ในสมัยก่อนพุกามหรือพุกามตอนต้นระยะแรก

พุทธประวัติ จิตรกรรมในเจดีย์ปาโททัมยา
พุกาม
จิตรกรรมพุทธประวัติ จิตรกรรมในเจดีย์ปาโททัมยา

จิตรกรรมใช้สีโทนร้อน เช่น สีแดง สีเหลือง สีดำ ตามอย่างศิลปะปาละ เครื่องแต่งกายของบุคคลในจิตรกรรมเองก็เกี่ยวข้องกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น การทรงเทริดขนนกของกษัตริย์ อย่างไรก็ตาม ลักษณะพื้นเมืองพุกามได้ปรากฏปะปนด้วย เช่น การทรงผ้าคลุมที่มีลวดลายเต็มของกษัตริย์ รวมถึงรูปแบบอาคารที่ดูเหมือนปยาทาด เป็นต้น