ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ใบเสมา
คำสำคัญ : ใบเสมา, พระพุทธรูปนาคปรก, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น , พุทธประวัติ
ชื่อหลัก | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | ในเมือง |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | ขอนแก่น |
ภาค | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 16.446119 Long : 102.83852 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 48 Q Hemisphere : N E : 269213.66 N : 1819516.46 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ภายในอาคารจัดแสดง |
ประวัติการสร้าง | ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมเชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | สลักหิน |
ลักษณะทางศิลปกรรม | ใบเสมาแผ่นแบน ยอดแหลม สลักลายกลีบบัวที่ด้านล่าง ด้านหน้าเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนเสวยวิมุตติสุขสัปดาห์ที่ 6 หรือตอนาคปรก ส่วนบนสลักภาพพระพุทธเจ้านั่งขัดสมาธิแบบหลวมอยู่เหนือขนดนาคที่ซ้อนกัน 4 ชั้น พระหัตถ์ทำปางแสดงธรรม เหนือพระเศียรมีหัวนาค 5 หัวปรกอยู่ เบื้องหลังเป็นต้นไม้ซึ่งคงหมายถึงต้นมุจลินท์หรือต้นจิก เบื้องล่างทางด้านซ้ายของพระองค์ปรากฏภาพบุคคลสวมเครื่องทรงมากนั่งทำท่านอบน้อม อาจหมายถึงพระยานาคมุจลินท์ที่แปลงกายเป็นมนุษย์มาเฝ้าพระองค์ อีกบุคคลหนึ่งทางด้านขวาของพระองค์ทำท่าประนมกร คงหมายถึงผู้ติดตาม |
สกุลช่าง | ภาคอีสาน |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | เป็นตัวอย่างใบเสมาสลักภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติที่สมบูรณ์ |
ข้อสังเกตอื่นๆ | ค้นพบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ทวารวดี |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 12-16 |
ศาสนา | พุทธ |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนา |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | พุทธประวัติตอนนี้เกิดขึ้นภายหลังตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ 6 พระพุทธองค์ประดับใต้ต้นมุจลินท์หรือต้นจิก ริมสระน้ำมุจลินท์ ครั้งนั้นพายุฝนนอกฤดูได้บังเกิดขึ้น พระยานาคมุจลินท์ซึ่งอาศัยอยู่ภายในสระน้ำนั้นได้ขึ้นมาขนดกายปกป้องพระพุทธองค์จากพายุฝน เมื่อสงบลงแล้วจึงกลายร่างเป็นมนุษย์ฟังพระธรรมเทศนา |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-08-19 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, ทวารวดีในอีสาน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2558. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, “หลักหิน-ใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย” กรุงเทพฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547. วชิราภรณ์ ไชยชาติ, นำชมใบเสมาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น. กรุงเทพฯ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น, 2552. |