ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ
คำสำคัญ : จิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ, พระอุโบสถ วัดตรีทศเทพวรวิหาร, วัดตรีทศเทพ, จิตรกรรมฝาผนัง
ชื่อหลัก | พระอุโบสถ วัดตรีทศเทพวรวิหาร |
---|---|
ชื่ออื่น | วัดตรีทศเทพ |
ประเภทงานศิลปะ | จิตรกรรม |
ตำบล | บางขุนพรหม |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.762032 Long : 100.503198 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 662513.77 N : 1521915.68 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ภายในพระอุโบสถ |
ประวัติการสร้าง | จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเริ่มเขียนเมื่อพ.ศ. 2532 โดยอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต และคณะ โดยพระอุโบสถหลังนี้เป็นพระอุโบสถซึ่งสร้างขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2529 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | - |
ประวัติการอนุรักษ์ | - |
ขนาด | - |
ลักษณะทางศิลปกรรม | ผนังด้านหลังพระพุทธรูปประธานเขียนภาพพระพุทธเจ้าแสดงปางมารวิชัยอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วทรงกลีบบัวล้อมรอบด้วยพระสาวก พรหม และประชาชน ขนาบข้างด้วยพระพุทธรูปทรงเครื่องและพระพุทธรูปลีลา ผนังด้านขวามือของพระพุทธรูปประธานเป็นพระพุทธเจ้าปางประสูติ ด้านบนเขียนภาพสันดุสิตเทพบุตร ผนังด้านหน้าเขียนภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ผนังระหว่างหน้าต่างเขียนภาพเทพชุมนุม เหนือช่องหน้าต่างมีพระอดีตพุทธเจ้านั่งเรียงแถวกันใต้ลายพวงมาลัยและพวงอุบะ แม้การแสดงออกของฉากและตัวบุคคล เช่น หนุมาน ยักษ์ สัตว์หิมพานต์จะคงลักษณะตามแบบไทยประเพณี แต่ก็มีการแทรกรูปสัตว์และรูปบุคคลที่มีอิริยาบถ เครื่องแต่งกาย รวมถึงการจัดวางภาพตามแบบแผนสมัยปัจจุบันเข้าไปผสมผสาน |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | จิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถวัดตรีทศเทพเป็นผลงานของอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ ที่เขียนภาพจิตรกรรมแบบไทยประเพณีด้วยเรื่องราวในพุทธประวัติตามปรัมปราคติ แต่มีรูปแบบบางประการที่เป็นจิตรกรรมร่วมสมัยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปิน |
ข้อสังเกตอื่นๆ | - |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 26 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | - |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | พระอุโบสถวัดตรีทศเทพ เป็นอาคารทรงไทยประเพณีมีมุขยื่นออกมาข้างหน้า หน้าบันเป็นตราพระมหามงกุฎ พระบรมราชสัญลักษณ์รัชกาลที่ 4 ภายในประดิษฐานพระพุทธนวราชบพิตร พระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จฯมาทรงเป็นประธานในการหล่อเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2530 |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-04-03 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์, ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล |
บรรณานุกรม | ประวัติวัดตรีทศเทพและจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดตรีทศเทพ. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, 2540. สุริยา รัตนกุล. พระอารามหลวงในกรุงเทพมหานคร. เล่ม 2. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2552. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ : พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2556. |