ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พุทธประวัติตอนสัตตมหาสถาน

คำสำคัญ : พระพุทธเจ้า, พุทธประวัติ, เจดีย์สูลามณี, พระเจ้านรปติสิทธุ

ชื่อหลักเจดีย์สูลามณี
ประเภทงานศิลปะจิตรกรรม
ที่อยู่-
จังหวัด/เมืองพุกาม
รัฐ/แขวงมัณฑเลย์
ประเทศเมียนมา
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 21.164722
Long : 94.881111

ประวัติการสร้างเจดีย์สูลามณีเมืองพุกาม สร้างขึ้นโดยพระเจ้านรปติสิทธุในพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพุกามตอนปลาย อย่างไรก็ตาม จิตรกรรมภายในกลับวาดขึ้นในสมัยหลังกว่า โดยมีทั้งภาพเขียนพระพุทธรูปขนาดใหญ่และพุทธประวัติตอนสัตตมหาสถาน
ลักษณะทางศิลปกรรมจิตรกรรมที่นี่ดูเหมือนว่าจะเป็นลายเส้นบนพื้นสีครีม พระพุทธองค์ทรงมีชาวจีวรสองชั้นพาดพระอังสาซ้าย คือ ชายจีวรสั้นกับชายจีวรยาว ซึ่งถือเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะสมัยหลังพุกาม
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะคองบอง
อายุพุทธศตวรรษที่ 23-24
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องสัตตมหาสถาน คือสถานที่ทั้งเจ็ดแห่งซึ่งพระพุทธเจ้าเสวยวิมุติสุข หรือความสุขจากการหลุดพ้นตลอดเจ็ดสัปดาห์ภายหลังการตรัสรู้ โดยทรงทำสมาธิในอิริยาบถแตกต่างกันและแต่ละสัปดาห์ได้เกิดเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์
งานศิลปะที่เกี่ยวข้องในภาพคือสัปดาห์ที่ 5 (อชปาลนิโครธ) และสัปดาห์ที่ 6 (มุจลินท์) ในช่วงอชปาลนิโครธพระพุทธองค์ทรงประทับภายใต้ต้นไทรของคนเลี้ยงแพะ ซึ่งปรากฏทางขวามือของภาพ ส่วนทางซ้ายมือของภพเป็นตอนมุจลินท์ซึ่งพระพุทธองค์ประทับภายใต้พังพานและขนดของมุจลินทนาคราชตลอดเจ็ดวัน

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี