ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 15 รายการ, 2 หน้า
จิตรกรรมบนหน้าบัน สิมวัดหาดเสี้ยว
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมบนหน้าบัน สิมวัดหาดเสี้ยว

อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่น การวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตก จิตรกรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5

หน้าบันรูปวิษณุอนันตศายินจากปราสาทมิเซิน E
ดานัง
ประติมากรรมหน้าบันรูปวิษณุอนันตศายินจากปราสาทมิเซิน E

ซุ้มของปราสาทมิเซินกลุ่ม E นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน กึ่งกลางปรากฏภาพเล่าเรื่องตอนวิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ หรือพระวิษณุบรรทมกลางเกษียรสมุทรและมีพระพรหมผุดขึ้นมาจากพระนาภี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู

หน้าบันรูปพระวิษณุ
ดานัง
ประติมากรรมหน้าบันรูปพระวิษณุ

พระวิษณุทรงเป็นเทพเจ้าผู้รักษาจักรวาล ทรงมีสี่พระกร ถือจักร สังข์ คทาและธรณี ทรงกิรีฏมกุฏหรือหมวกทรงกระบอกอันแสดงฐานะความเป็นกษัตริย์ของพระองค์ อาจเป็นไปได้ที่หน้าบันย่อมแสดงให้เห็นว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับพระวิษณุ ซึ่งพบน้อนกว่าปราสาทที่สร้างอุทิศให้กับพระศิวะมาก

หน้าบันรูปครุฑและนาค
โฮจิมินห์
ประติมากรรมหน้าบันรูปครุฑและนาค

พระวิษณุทรงเป็นเทพเจ้าผู้รักษาจักรวาล ทรงมีพาหนะที่สำคัญคือครุฑและนาค ซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าบันทั้งสองตัว ครุฑเป็นพาหนะของพระวิษณุในคราวเสด็จไปในที่ต่างๆ ส่วนนาคเป็นบัลลังก์บรรทมของพระองค์บนเกษียรสมุทร

หน้าบันรูปมหิษาสูรมรรทนีที่ปราสาทโพนคร
ญาจาง
ประติมากรรมหน้าบันรูปมหิษาสูรมรรทนีที่ปราสาทโพนคร

ปราสาทโพนคร เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปของพระภควตี ภาคหนึ่งของพระอุมา เป็นเทพีประจำอาณาจักรจามปาภาคใต้ โดยมีประวัติมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 ว่า มีการสถาปนาปราสาทถวายแด่เทวรูปพระภควตีมาตั้งแต่สมัยหัวล่าย ต่อมาถูกองทัพขอมข้าทำลายในพุทธศตวรรษที่ 15 ทำให้มีการสร้างปราสาทหลังใหม่ในสมัยบิญดิ่นตอนต้น ซึ่งก็คือปราสาทหลังปัจจุบัน

ศิวนาฏราชบนหน้าบันของปราสาทโพกลวงการาย
ฟานรัง
ประติมากรรมศิวนาฏราชบนหน้าบันของปราสาทโพกลวงการาย

แม้ว่าปราสาทโพกลวงการายจะมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 19 แต่หน้าบันรูปพระศิวนาฏราชชิ้นนี้กลับมีอายุเก่ากว่าเล็กน้อย คืออยู่ในศิลปะบิ่ญดิ่น แสดงให้เห็นถึงการนำเอาศิลปกรรมเก่ากลับมาใช้ใหม่ รูปแบบของมงกุฎพระศิวะนั้นสามารถเทียบได้กับมงกุฎในศิลปะบิญดิ่นโดยทั่วไป คือประกอบด้วยตาบเล็กๆ ซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆ ในรูปสามเหลี่ยม ส่วนผ้านุ่งมีการชักชายผ้ารูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นลักษณะประจำของศิลปะบิญดิ่นเช่นกัน

หน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องนรสิงห์
อังกอร์
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องนรสิงห์

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องเป็นรูปนรสิงห์แหวกอกอสูร

หน้าบัน สลักภาพอุมามเหศวร
อังกอร์
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพอุมามเหศวร

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องเป็นรูปอุมามเหศวร