ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 161 ถึง 168 จาก 210 รายการ, 27 หน้า
ทวารบาลจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมทวารบาลจากปราสาทดงเดือง

ที่โคปุระของปราสาทมีทวารบาลประดิษฐานอยู่ ทวารบาลดังกล่าวแสดงท่าทางข่มขู่ ยกมือเงื้ออาวุธจะทำร้ายและมีหน้าตาดุร้าย ขาทั้งสองข้างยืนเหยียบอสูรดุร้ายอยู่ ท่าทางที่แสดงความดุร้ายข่มขู่เช่นนี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของทวารบาลแบบจีน ในขณะเดียวกันการแต่งตัวของประติมากรรมกลับแสดงความเป็นพื้นเมืองดงเดือง อย่างมาก ทั้งในด้านมงกุฎซึ่งประดับด้วยตาบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่ และการเปลือยท่อนบนและทรงผ้านุ่งก็ล้วนแต่แสดงความเป็นพื้นเมืองจาม

นางปรัชญาปารมิตาจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมนางปรัชญาปารมิตาจากปราสาทดงเดือง

เป็นประติมากรรมที่แสดงความเป็นพื้นเมืองดงเดืองอย่างมาก กล่าวคือ มีพระเกศาหยิก พระขนงตอเป็นปีกกา พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา พระนาสิกใหญ่ นุ่งผ้าสองชั้น คือผ้าหน้านางผืนในแล้วใช้ผ้าคลุมด้านนอกอีกชั้นหนึ่ง ผ้านุ่งหน้านางนี้ถือเป็นลักษณะที่นิยมอย่างมากในศิลปะดงเดือง

ซุ้มกาลมกร
โฮจิมินห์
ประติมากรรมซุ้มกาลมกร

เนื่องด้วยอิทธิพลแบบอินเดียชวาได้เข้ามามีบทบาทอีกครั้งหนึ่งในศิลปะมิเซิน A1 ด้วยเหตุนี้ ลวดลายหน้ากาล-มกรซึ่งนิยมใช้ประดับซุ้มกูฑุในศิลปะชวาจึงได้เข้ามามีบทบาทใหม่หลังจากที่ได้เสื่อมความนิยมไปแล้วก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ซุ้มกาลมกรในศิลปะมิเซิน A1 กลับมีลักษรเฉพาะตัว คือ มกรมักโผล่ออกมาจากด้านข้างหูของหน้ากาล นอกจากนี้ยังคายเลียงผาออกมาทั้งสองข้าง

ฐานรูปนางอัปสรเต้นรำและนักดนตรี
ดานัง
ประติมากรรมฐานรูปนางอัปสรเต้นรำและนักดนตรี

เนื่องด้วยอิทธิพลแบบอินเดียชวาได้เข้ามามีบทบาทอีกครั้งหนึ่งในศิลปะมิเซิน A1 ด้วยเหตุนี้ ประติมากรรมบุคคลในศิลปะมิเซิน A1 จึงมีลักษณะอ่อนช้อย พระพักตร์มีพระเนตรไม่โปน ไม่มีพระมัสสุ พระโอษฐ์บางตามแบบอินเดียชวา การทรงผ้าคาดวงโค้งเองก็เป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะอินเดียและชวามาก่อน

สิงห์ยกขาจากปราสาทจาเกียว
ประติมากรรมสิงห์ยกขาจากปราสาทจาเกียว

ประติมากรรมรูปสัตว์จากปราสาทจาเกียวทั้งหมด มักอยู่ในทาทางเคลื่อนไหวอันถือเป็นเอกลักษณ์ของประติมากรรมรูปสัตว์ในระยะนี้ รูปสิงห์เองก็มีท่าทางยกขาขึ้นและเอี้ยวตัวเคลื่อนไหวอย่างมาก อนึ่ง สิงห์ซึ่งมีเขาแพะนั้นเรียกว่า “วยาล” ในศิลปะอินเดีย

ส่วนประดับมุมปราสาทรูปบุคคล
โฮจิมินห์
ประติมากรรมส่วนประดับมุมปราสาทรูปบุคคล

ส่วนประดับมุมรูบบุคคลนี้ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยมิเซิน A1 ได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง โดยมงกุฎมีลักษณะสำคัญคือประดับด้วยตาบจำนวนมาก ตาบดังกล่าวเป็นตาบที่ “คั่นกลาง” กระบังหน้า ตามมีลักษณะเป็นตาบสามเหลี่ยมขนาดเล็กซ้อนขึ้นไปหลายชั้น อนึ่งตาบแบบนี้แสดงความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะชวาซึ่งเข้ามามีบทบาทมากในระยะนี้ อนึ่ง ปราสาทในศิลปะมิเซิน A1-บิญดิ่นมักประดับมุมปราสาทด้วย “ส่วนประดับมุม” เสมอ โดยหลายครั้งที่อยู่ในรูปของบุคคลประนมมือไหว้

หน้าบันรูปมหิษาสูรมรรทนีที่ปราสาทโพนคร
ญาจาง
ประติมากรรมหน้าบันรูปมหิษาสูรมรรทนีที่ปราสาทโพนคร

ปราสาทโพนคร เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปของพระภควตี ภาคหนึ่งของพระอุมา เป็นเทพีประจำอาณาจักรจามปาภาคใต้ โดยมีประวัติมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 ว่า มีการสถาปนาปราสาทถวายแด่เทวรูปพระภควตีมาตั้งแต่สมัยหัวล่าย ต่อมาถูกองทัพขอมข้าทำลายในพุทธศตวรรษที่ 15 ทำให้มีการสร้างปราสาทหลังใหม่ในสมัยบิญดิ่นตอนต้น ซึ่งก็คือปราสาทหลังปัจจุบัน

รูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม
ดานัง
ประติมากรรมรูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม

รูปสิงห์จากปราสาทถาปมาม แสดการยกแข้งยกขาตามแบบศิลปะจีน หน้าตาของสิงห์มีการปะปนระหว่าง "สิงห์" และ "มังกรจีน" เป็นอย่างมาก ทั้งการมีเครา การอ้าปากแลบลิ้น การมีเขี้ยวมุมปาก เป็นต้น ทั้งหมดนี้แสดงอิทธิพลของเวียดนามที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองขึ้นเรื่อยๆในพื้นที่แถบนี้