ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวร
ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวร พระเศียรหักหายไป เปลือยกายท่อนบน พระวรกายหนา สวมเครื่องทรง ได้แก่ กรองศอเป็นลักษณะเป็นสร้อยคอแผงมีอุบะพู่ห้อยโดยรอบ นุ่งผ้านุ่งสั้นเหมือนผ้านุ่งชั้นในอัตพลีต มีชายผ้าหางปลาตกลงมาตรงกลางชายเดียว เป็นรูปแบบของศิลปะบายน รายล้อมไปด้วยเหล่าเทวดาและพระโพธิสัตว์
ประติมากรรมท่อน้ำ สลักรูปเศียรมนุษย์
ประติมากรรมรูปเศียรมนุษย์นั้น ปรากฏอยู่ซุ้มทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทนาคพัน เป็นรูปเศียรบุคคล สวมกระบังหน้ายอดมงกุฏทรงกรวย อยู่ในท่าอ้าพระโอษฐ์ซึ่งเป็นส่วนของท่อน้ำ
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี
หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่อง พระศิวะลองใจพระอุมา
หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่อง พระศิวะลองใจพระอุมา
ประติมากรรมอวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี
พระอวโลกิเตศวรทำผมทรงชฏามกุฏ สัญลักษณ์ของนักบวช ทรงมีพระอมิตาภะอยู่ที่ชฎามกุฏ พระพักตร์แบบบายน โดยหลับพระเนตรและยิ้มที่มุมพระโอษฐ์เล็กน้อย พระวรกายมีการสลักพระพุทธเจ้าทั่วทั้งวรกาย นุ่งผ้านุ่งสั้นเหมือนผ้านุ่งชั้นใน สันนิษฐานว่าอาจเคยมีการถวายผ้าทรงและเครื่องประดับจริง
ประติมากรรมพระบาง
พระบางมีลักษณะเป็นพระพุทธรูปในศิลปะขอมสมัยหลังบายน คือมีเม็ดพระศกเล็กเป็นหนามขนุน ห่มคลุม แสดงปางประทานอภัยสองพระหัตถ์ ด้านหน้าของสบงมีจีบหน้านางอันแสดงให้เห็นความเกี่ยวข้องกับศิลปะเขมร
ประติมากรรมช้างเอราวัณที่วัดพระมหามัยมุนี
ประติมากรรมกลุ่มนี้เป็นศิลปะบายนอย่างชัดเจน สามารถกำหนดอายุอยู่ได้ว่าน่าจะหล่อขึ้นในราวรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เครื่องแต่งกายของประติมากรรม เช่น มงกุฎที่ประกอบด้วยรัดเกล้ารูปสามเหลี่ยม และผ้านุ่งของประติมากรรมบุคคล รวมถึงขนคอแผงรูปสามเหลี่ยมของสิงห์และสร้อยคอที่ประดับด้วยแผงอุบะของประติมากรรมหลายตัวก็ล้วนแต่แสดงลักษณะประจำของศิลปะขอมทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยการเคลื่อนย้ายประติมากรรมชุดนี้หลายครั้ง จึงอาจทำให้ประติมากรรมชำรุดเสียหาย และเกิดการซ้อมโดยชาวพม่าขึ้น ประติมากรรมบางชิ้น เช่น ประติมากรรมรูปสิงห์จึงมีหัวเป็นศิลปะพม่าแต่ตัวเป็นศิลปะขอม เป็นต้น
ประติมากรรมสิงห์ที่วัดพระมหามัยมุนี
ประติมากรรมกลุ่มนี้เป็นศิลปะบายนอย่างชัดเจน สามารถกำหนดอายุอยู่ได้ว่าน่าจะหล่อขึ้นในราวรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เครื่องแต่งกายของประติมากรรม เช่น มงกุฎที่ประกอบด้วยรัดเกล้ารูปสามเหลี่ยม และผ้านุ่งของประติมากรรมบุคคล รวมถึงขนคอแผงรูปสามเหลี่ยมของสิงห์และสร้อยคอที่ประดับด้วยแผงอุบะของประติมากรรมหลายตัวก็ล้วนแต่แสดงลักษณะประจำของศิลปะขอมทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยการเคลื่อนย้ายประติมากรรมชุดนี้หลายครั้ง จึงอาจทำให้ประติมากรรมชำรุดเสียหาย และเกิดการซ้อมโดยชาวพม่าขึ้น ประติมากรรมบางชิ้น เช่น ประติมากรรมรูปสิงห์จึงมีหัวเป็นศิลปะพม่าแต่ตัวเป็นศิลปะขอม เป็นต้น