ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี

คำสำคัญ : อวโลกิเตศวร, บายน, ชัยวรมันที่ 7, ปัทมปาณี, อมิตาภะ

ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ที่อยู่พิพิธภัณฑ์ กีเมต์
ประเทศกัมพูชา
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 48.864722
Long : 2.293611

ประวัติการสร้างประติมากรรมพระอวโลกิเตศวรสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวพุทธศตวรรษที่ 18
ลักษณะทางศิลปกรรมพระอวโลกิเตศวรทำผมทรงชฏามกุฏ สัญลักษณ์ของนักบวช ทรงมีพระอมิตาภะอยู่ที่ชฎามกุฏ พระพักตร์แบบบายน โดยหลับพระเนตรและยิ้มที่มุมพระโอษฐ์เล็กน้อย พระวรกายมีการสลักพระพุทธเจ้าทั่วทั้งวรกาย นุ่งผ้านุ่งสั้นเหมือนผ้านุ่งชั้นใน สันนิษฐานว่าอาจเคยมีการถวายผ้าทรงและเครื่องประดับจริง
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะบายน
อายุพุทธศตวรรษที่ 18
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายมหายาน
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพระอวโลกิเตศวร คือพระโพธิสัตว์ประจำกัลป์ปัจจุบัน โดยพระองค์ได้รับการเคารพยกย่องว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตากรุณา และมีการเรียกขานพระองค์ในนามอื่นเช่น ปัทมปาณิ เป็นต้น ปาง เปล่งรัศมีที่นิยมในศิลปะบายน คาดว่ามีที่มาจากคัมภีร์กรัณฑวยุหสูตร ที่มีข้อความกล่าวว่า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีอานุภาพมาก ทุกรูขุมขนของพระองค์เทียบเท่ากับ 1 จักรวาล โดยจักรวาลจะมีพระพุทธเจ้าประทับอยู่ 1 องค์

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-02-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี