ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ท่อน้ำ สลักรูปเศียรมนุษย์

คำสำคัญ : บายน, พุทธมหายาน, ชัยวรมันที่ 7, นาคพัน, อโนดาต

ชื่อหลักปราสาทนาคพัน
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
จังหวัด/เมืองอังกอร์
รัฐ/แขวงเสียมเรียบ
ประเทศกัมพูชา
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.463056
Long : 103.895

ประวัติการสร้างปราสาทนาคพัน สร้างอยู่บนสระน้ำขนาดใหญ่ที่เรียกกันว่า บารายพระขรรค์ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ตามจารึกเรียกว่า ชัยตฏากะ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอาณาจักร เพราะเปรียบได้กับสระอโนดาต
ลักษณะทางศิลปกรรมประติมากรรมรูปเศียรมนุษย์นั้น ปรากฏอยู่ซุ้มทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทนาคพัน เป็นรูปเศียรบุคคล สวมกระบังหน้ายอดมงกุฏทรงกรวย อยู่ในท่าอ้าพระโอษฐ์ซึ่งเป็นส่วนของท่อน้ำ
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะบายน
อายุพุทธศตวรรษที่ 18
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายมหายาน
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องสระอโนดาตเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีน้ำที่ใสสะอาดและเต็มเปี่ยมอยู่ตลอดเวลา น้ำในสระอโนดาตจะไหลออกตามช่องภูเขาที่ตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศของสระ เป็นรูปหน้าของสัตว์ 4 ชนิด คือ สิงห์ ช้าง ม้า และโค ซึ่งที่ปราสาทนาคพันก็พบการสลักรูปจำหลักในทิศทั้ง 4 เช่นเดียวกัน โดยสระน้ำทางทิศเหนือมีหินสลักเป็นรูปหัวช้าง สระน้ำทางทิศตะวันออกมีหินสลักเป็นรูปหัวม้า และสระน้ำทางทิศใต้มีหินสลักเป็นรูปหัวสิงห์ แต่ในทิศตะวันตกกลับจำหลักรูปหน้าคนแทนหน้าโค

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-02-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี