ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมปราสาทนาคพัน
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงขุดบารายชยตฑาคะขึ้นที่ด้านหน้าเมืองราชัยศรี (ปราสาทพระขรรค์) กลางสระนั้นโปรดให้สร้างปราสาทนาคพันขึ้นเพื่อตามคติสระอโนดาต อันเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา
สถาปัตยกรรมอาคารที่มีนาคพัน จันทิปะนะตะรัน
ที่ลานด้านหน้าจันทิปะนะตะรันนั้น ปรากฏอาคารซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นอาคารที่มีเทวดาถือนาคพันอยู่โดยรอบ เทวดาทรงกิรีฏมกุฎ แต่งกายตามแบบชวาตะวันออกคือประดับไปด้วยอุบะห้อยขนาดเล็กจำนวนมาก มือหนึ่งถือระฆังซึ่งใช้ในพิธีกรรมส่วนอีกมือหนึ่งถือถือลำตัวนาค อาคารหลังนี้ยังไม่แน่ชัดว่าใช้ทำอะไร บางท่านเชื่อว่าอาจเกี่ยวข้องกับการกวนเกษียรสมุทรจึงอาจเป็นไปได้ที่เป็นอาคารที่ใช้ในการเสกน้ำมนต์
ประติมากรรมม้าพลาหะ
ม้าพลาหะ เป็นประติมากรรมรูปม้าขนาดใหญ่ หันหน้าเข้าสู่ตัวปราสาทประธาน ที่ประติมากรรมม้าพลาหะ ปรากฏการสลักประติมากรรมบุคคลโดยรอบ
ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวร
ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวร พระเศียรหักหายไป เปลือยกายท่อนบน พระวรกายหนา สวมเครื่องทรง ได้แก่ กรองศอเป็นลักษณะเป็นสร้อยคอแผงมีอุบะพู่ห้อยโดยรอบ นุ่งผ้านุ่งสั้นเหมือนผ้านุ่งชั้นในอัตพลีต มีชายผ้าหางปลาตกลงมาตรงกลางชายเดียว เป็นรูปแบบของศิลปะบายน รายล้อมไปด้วยเหล่าเทวดาและพระโพธิสัตว์
ประติมากรรมท่อน้ำ สลักรูปเศียรมนุษย์
ประติมากรรมรูปเศียรมนุษย์นั้น ปรากฏอยู่ซุ้มทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทนาคพัน เป็นรูปเศียรบุคคล สวมกระบังหน้ายอดมงกุฏทรงกรวย อยู่ในท่าอ้าพระโอษฐ์ซึ่งเป็นส่วนของท่อน้ำ