ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หน้าบัน สลักภาพพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี
คำสำคัญ : พระพุทธเจ้า, บายน, นครวัด, หน้าบัน, พุทธเถรวาท, ช้างนาราคีรี, พระอานนท์
ชื่อหลัก | ปราสาทพระป่าเลไลย์ |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
จังหวัด/เมือง | เสียมเรียบ |
ประเทศ | กัมพูชา |
ลักษณะทางศิลปกรรม | หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี |
---|---|
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
อายุ | ปลายพุทธศตวรรษที่ 17 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 18 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ตอนทรมานช้างนาราคีรี เป็นเหตุการณ์ที่พระเทวทัต คิดประทุษร้ายต่อพระพุทธเจ้า โดยการทำให้ช้างนาราคีรีความคลุ้มคลั่ง แล้วปล่อยให้ไปทำร้ายพระพุทธเจ้าในขณะเสด็จบิณฑบาตโปรดสัตว์ ขณะที่พญาช้างวิ่งตรงเข้าหาพระพุทธเจ้านั้น พระอานนท์วิ่งออกมาขวางหมายน้อมถวายชีวิต พระพุทธองค์จึงทรงใช้พุทธปาฏิหาริย์บันดาลให้พญาช้างวิ่งไปทางอื่น แล้วทรงแผ่เมตตาจนช้างได้สติ ทรุดกายลงยกงวงขึ้นถวายความเคารพ พระพุทธเจ้าทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบศีรษะและทรงประทานโอวาทแก่พญาช้าง |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | ประติมากรรมช้างที่หมอบอยู่หน้าประติมากรรมพระพุทธเจ้า หมายถึงพญาช้างนาราคีรีที่ได้หมอบถวายความเคารพแก่พระพุทธเจ้า ภายหลังจากวิ่งเข้าไปทำร้ายพระองค์ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-02-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |