ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมฐานเป็นชั้น: จันทิปะนะตะรัน
ลานประธาน เป็นที่ตั้งของฐานเป็นชั้นเพื่อรองรับจันทิประธาน ฐานเป็นชั้นนี้คงมีความหมายเกี่ยวพันกับเขาพระสุเมรุอันเป็นเขาแกนกลางจักรวาลและเป็นที่ประทับของพระศิวะ อย่างไรก็ตาม อาคารด้านบนฐานดังกล่าวไม่หลงเหลืออยู่แล้วจนถึงปัจจุบัน และอาจเป็นไปได้ที่อาคารหลังนี้อาจเคยเป็นทรง “เมรุ” หรืออาคารหลังคาลาดซ้อนชั้นตามแบบที่ปรากฏในศิลปะบาหลีในปัจจุบัน ฐานชั้นที่หนึ่ง สลักภาพเล่าเรื่องรามายณะบรรจุในกรอบสี่เหลี่ยม เริ่มต้นตั้งแต่ตอนหนุมานเดินทางไปถวายแหวนที่เกาะลังกา การเผากรุงลังกา การจองถนนจนถึงกุมภรรณล้ม ภาพเล่าเรื่องตอนนี้มีลักษณะคล้ายหนังตะลุงชวา (วาหยัง) มาก ฐานชั้นที่สอง สลักเรื่องของพระกฤษณะ ส่วนฐานชั้นบนสุด ได้แก่ฐานที่รองรับเทวาลัยประธาน ปัจจุบันปรากฏภาพสิงห์และนาคมีปีกสลับกัน
สถาปัตยกรรมจันทิติกุส
เมืองโตรวูลัน เป็นเมืองหลวงของราชวงศ์มัชฌปาหิต สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 20 มีโบราณสถานสำคัญหลายแห่ง เช่น จันทิติกุสซึ่งเป็นสระน้ำ หรือซุ้มประตูเทวาลัยต่างๆ โบราณสถานในเมืองนี้มักสร้างด้วยอิฐอันแตกต่างไปจากโบราณสถานสมัยชวาภาคตะวันออกแห่งอื่นๆที่มักสร้างด้วยหิน
สถาปัตยกรรมซุ้มประตูแยกที่ปุระเกห็น
ซุ้มประตูแยก หรือที่เรียกกันในภาษาบาหลี จันทิเบนตาร์ (Candi Bentar) ถือเป็นลักษณะเฉพาะในศิลปะนี้ ซุ้มประตูดังกล่าวประกอบด้วยเรือนธาตุและยอดปราสาทที่ถูกผ่าครึ่ง โดยพื้นที่ที่ถูกผ่าตรงกลางไม่มีลวดบัวใดๆ ซุ้มประตูแยก มีหน้าที่สำคัญในการป้องกันความชั่วร้ายเช่นเดียวกับซุ้มประตูที่มียอด
สถาปัตยกรรมกุหนุงกาวี
จันทิกุหนุงกาวี มีลักษณะเป็นหน้าผาริมแม่น้ำ โดยมีการสลักจันทิติดผนังจำนวน 9 หลัง ถือเป็นตัวอย่างจันทิสลักหินติดกับเพิงผาธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในเกาะบาหลี นอกจากนี้ยังถือเป็นตัวอย่างจันทิในศิลปะชวาภาคตะวันออกที่ปรากฏในเกาะบาหลีอีกด้วย เนื่องจากชั้นหลังคาประดับไปด้วยสถูปิกะ/อาคารจำลองซึ่งไม่ปรากฏแล้วในศิลปะบาหลี อนึ่ง ที่ตั้งของกลุ่มจันทิดังกล่าว ย่อมทำให้แม่น้ำที่ไหลผ่านศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อากาศครรภ์
จันทิเมนดุตสร้างขึ้นในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในพุทธศตวรรษที่ 14 สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายาน โดยสร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับบุโรพุทโธที่ตั้งของจันทิเมนดุตก็ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับจันทิปะวนและบุโรพุทโธ
ประติมากรรมภาพสลักนิทานปัญจตันตระเรื่อง “นกกระสากับปู”
จันทิเมนดุตสร้างขึ้นในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในพุทธศตวรรษที่ 14 สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายาน โดยสร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับบุโรพุทโธที่ตั้งของจันทิเมนดุตก็ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับจันทิปะวนและบุโรพุทโธ
ประติมากรรมนางหาริตี
จันทิเมนดุตสร้างขึ้นในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในพุทธศตวรรษที่ 14 สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายาน โดยสร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับบุโรพุทโธที่ตั้งของจันทิเมนดุตก็ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับจันทิปะวนและบุโรพุทโธ
ประติมากรรมพระพุทธรูปประธานของจันทิเมนดุต
พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท มีรูปแบบที่แสดงอิทธิพลจากศิลปะจาลุกยะที่ถ้ำเอลโลร่ากับศิลปะปาละจากอินเดียภาคตะวันออก พระพุทธรูปมีอุณาโลมตามแบบศิลปะปาละแต่กลับห่มเฉียงดังที่ปรากฏกับพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทที่ถ้ำอชันตาและเอลโลร่า พระพุทธองค์แสดงการจับชายจีวรขณะนั่งห้อยพระบาทรวมถึงปรากฏชายจีวรที่ตกลงมาระหว่างพระเพลาทั้งสองข้างซึ่งคล้ายคลึงกับศิลปะที่ถ้ำเอลโลร่า ส่วนบัลลังก์ที่ประดับด้วยมกร วยาลและช้างก็ปรากฏมาก่อนแล้วทั้งที่ถ้ำเอลโลร่าและในศิลปะปาละ